คำทำนายอนาคตของนิโคลา เทสล่า (Nicola Tesla)

วิทยาศาสตร์ทั่วไป

นักประดิษฐ์อัจฉริยะผู้สร้างสรรค์ ที่แหวกแนวความคิดและกฎพื้นฐานเดิมที่มีอยู่ นิโคลา เทสล่า เป็นนักประดิษฐ์, นักฟิสิกส์, วิศวกรเครื่องกล, วิศวกรไฟฟ้า และ นักทำนายอนาคต น่าเสียดายที่ในช่วงชีวิตของเขาความเป็นอัจฉริยะที่เขามีกลับถูก โทมัส เอดิสัน บดบังโดยลดทอนความน่าเชื่อถือของเขา โดยเขาได้ทำนายอนาคตไว้อย่างแม่นยำซึ่งเกี่ยวกับสิ่งต่างๆเหล่านี้

1.สมาร์ทโฟน (Smart phone)

เขากล่าวว่า เมื่อระบบไร้สายถูกนำมาใช้อย่างสมบูรณ์แบบ โลกทั้งใบจะถูกแปลงเป็นสมองขนาดใหญ่ เราจะสามารถติดต่อสื่อสารกับคนอื่นได้ทันที โดยไม่ต้องคำนึงถึงเรื่องระยะทาง และเราสามารถพกพาเครื่องมือที่ว่านี้ไปได้ทุกที่

หอสูง 187 ฟุตที่เรียกว่า Wardenclyffe Tower ทดลองถ่ายทอดพลังงานไฟฟ้าแบบไร้สายไปทั่วโลกโดยใช้โลกใบนี้เป็นตัวนำไฟฟ้าขนาดใหญ่ ซึ่งได้รับการออกแบบโดยนิโคลา เทสล่า เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการรับส่งข้อมูลแบบไร้สาย

2.รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ (Self-driving car)

ในปี 1898 เขาได้นำเสนอการสร้างรถยนต์ที่ปล่อยให้ตัวมันเองปฏิบัติการได้อย่างหลากหลาย ซึ่งเกี่ยวข้องกับบางอย่างที่ใกล้เคียงกับคำว่าการคาดคะเน

3.กล้องถ่ายความคิด (Thoughts camera)

นิโคลาเชื่อว่าเขาสามารถคิดค้นกล้องเพื่ออ่านภาพและความคิดจากสมองได้ ในบทความที่ตีพิมพ์ในนิตยสาร Kansas City Journal-Post ในเดือนกันยายนปี 1933 เขากล่าวกับผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่สามารถถ่ายภาพความคิด “ผมคาดหวังว่าจะถ่ายรูปความคิดได้” เขากล่าวในปี 1893 “ขณะที่ผมเข้าร่วมการตรวจสอบบางอย่าง ผมก็มั่นใจว่าภาพที่ชัดเจนในความคิดต้องสะท้อนภาพที่มาจากการกระทำ และสอดคล้องกันกับภาพบนจอตา (retina) ซึ่งอาจอ่านได้โดยอุปกรณ์ที่เหมาะสม ถ้าสามารถทำได้สำเร็จ สิ่งที่คนเราคิดจะปรากฏขึ้นอย่างชัดเจนบนจอตา ด้วยวิธีนี้ความคิดทุกอย่างของแต่ละคนจะสามารถอ่านได้ เหมือนหนังสือที่เปิดออก”

การทำนายของนิโคลา เทสล่าชิ้นนี้ ยังไม่กลายเป็นความจริง แต่นักวิจัยยังคงศึกษาวิสัยทัศน์และสำรวจแนวคิดเกี่ยวกับเครื่องอ่านความคิด ในความพยายามนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้พัฒนาอัลกอริทึมที่สามารถเรียนรู้ที่จะแปลความหมายของสัญญาณสมองและทำภาพหยาบๆที่เห็นซ้ำๆในใจของคนเรา

นักวิทยาศาสตร์ยังได้สร้างจอตาเทียมขึ้นโดยผ่านการวิเคราะห์ที่ซับซ้อนทางคณิตศาสตร์เพื่อศึกษาว่า จอตาแปลงภาพเป็นแรงกระตุ้นทางไฟฟ้าเพื่อส่งไปยังสมองได้อย่างไร

 

ที่มา: BigThink
เรียบเรียง: SignorScience