การอั้นปัสสาวะนานๆส่งผลเสียอะไรต่อร่างกาย?

สุขภาพ
Pixabay

มันอาจจะเริ่มจากอาการที่รู้สึกไม่ค่อยสบายตัวนิดๆและหลังจากนั้นไม่นานก็จะตามมาด้วยความอัดอั้นที่ไม่สามารถจะเพิกเฉยได้ทำให้ในที่สุดสิ่งที่เรามีอยู่ในหัวเพียงอย่างเดียวในขณะนั้นคือการไปเข้าห้องน้ำให้เร็วที่สุดเพื่อปัสสาวะ โดยปกติมนุษย์ควรที่จะปัสสาวะอย่างน้อย4-6ครั้งต่อวัน แต่ในบางครั้งบางคราวการใช้ชีวิตอยู่ในสังคมยุคปัจจุบันที่เร่งรีบอาจจะทำให้เราต้องอั้นปัสสาวะไว้ การกระทำเช่นนี้ส่งผลเสียต่อร่างกายมากขนาดไหน?และร่างกายเราสามารถอั้นได้นานเท่าไร?

Pixabay

คำตอบอยู่ที่ระบบการทำงานของกระเพาะปัสสาวะ(Bladder)ที่อยู่ช่วงกระดูกเชิงกรานโดยยังมีอวัยวะส่วนอื่นที่เกี่ยวข้องและทำงานร่วมกันกับระบบปัสสาวะด้วยได้แก่ ไต2ข้าง,ท่อไต2ท่อ,หูรูดท่อปัสสาวะภายในและภายนอก,และท่อปัสสาวะ ซึ่งเริ่มจากที่ไตจะมีของเหลวสีเหลืองค่อยๆไหลลงมาตามท่อไตซึ่งเราเรียกของเหลวสีเหลืองนี้ว่าปัสสาวะ(Urine)นั่นเอง โดยที่ไตนั้นผลิตปัสสาวะจากการผสมระหว่างน้ำและของเสียจากร่างกายและส่งของเสียเหล่านี้ไปตามท่อไตซึ่งจะนำไปสู่กระเพาะปัสสาวะ ผนังกล้ามเนื้อในกระเพาะปัสสาวะนี้ทำมาจากเนื้อเยื่อที่เรียกว่า”Detrusor Muscle”หรือกล้ามเนื้อเรียบซึ่งค่อนข้างที่จะยืดหยุ่นได้เหมือนบอลลูนเมื่อปัสสาวะที่อยู่ในกระเพาะปัสสาวะมีปริมาณมาก ในขณะที่กระเพาะปัสสาวะเก็บปัสสาวะจนเต็มแล้วกล้ามเนื้อหูรูดที่อยู่ภายใน(กล้ามเนื้อที่เราควบคุมไม่ได้)จะคลายตัวอย่างอันโนมัติทำให้ปัสสาวะไหลลงมาที่ท่อปัสสาวะและจะมาหยุดที่หูรูดภายนอก(กล้ามเนื้อที่เราควบคุมได้)ซึ่งจะคล้ายๆก๊อกน้ำเมื่อเราอยากให้น้ำไหลช้าลงเราเราก็หมุนวาลว์ให้ช่องระบายน้ำแคบลงซึ่งในทางเดียวกันกับกล้ามเนื้อหูรูดภายนอกหากเราต้องการให้ปัสสาวะไหลช้าลงหรือหยุดไหลเราต้องใช้กล้ามเนื้อหูรูดมาชลอหรือหยุดปัสสาวะไว้

TED-Ed

และเราจะรู้ได้อย่างไรว่ากระเพาะปัสสาวะใกล้เต็มหรือยังเพื่อที่เราจะได้รู้ว่าจะไปปัสสาวะตอนไหน?

ภายในกล้ามเนื้อเรียบที่กระเพาะปัสสาวะจะประกอบไปด้วยตัวรับสัญญาหลายล้านตัวที่จะถูกกระตุ้นเมื่อกระเพาะปัสสาวะเริ่มมีปัสสาวะ หลังจากนั้นมันจะส่งสัญญาณผ่านเส้นประสาทต่างๆไปจนถึงส่วนของเส้นประสาทไขสันหลังและสัญญาณจะสะท้อนกลับมาที่กระเพาะปัสสาวะทำให้กล้ามเนื้อเรียบนั้นหดตัวและเพิ่มความดันเล็กน้อยทำให้เราเริ่มรู้สึกว่ามีปัสสาวะอยู่ในนั้น ซึ่งสมองสามารถตอบโต้ได้ถ้าหากมันยังไม่ใช่เวลาที่ดีในการปัสสาวะโดยสมองจะส่งสัญญาณอีกตัวเพื่อให้กล้ามเนื้อหูรูดภายนอกหดตัวเพื่อหยุดการปัสสาวะ ปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะของเราในปริมาณ150-200มิลลิลิตรจะเป็นช่วงที่กระเพาะปัสสาวะยืดจนทำให้เรารับรู้ได้ว่ามีปัสสาวะอยู่ข้างในแล้ว เมื่อถึงปริมาณ400-500มิลลิลตรจะเป็นปริมาณที่เราต้องเริ่มอั้นและทำให้เกิดความรุ้สึกไม่สบายตัว แต่มันสามารถที่จะยืดได้จนถึงจุดหนึ่งเท่านั้น ถ้าหากเกิน1000มิลลิลิตรมันจะไม่สามารถเก็บได้จนอาจจะเกิดการฉีกขาดได้ แต่คนส่วนมากไม่สามารถกลั้นปัสสาวะจนกระเพาะปัสสาวะฉีกขาดแต่จะเป็นการปัสสาวะออกมาเลยหรืออั้นไม่อยู่มากกว่า แต่จะมีในบางกรณีที่เกิดขึ้นเมื่อเจ้าตัวไม่สามารถรับรู้ว่าตัวเองต้องปัสสาวะแล้วซึ่งเมื่อเกิดการฉีกขาดแล้วต้องผ่าตัดเท่านั้นเพื่อที่จะรักษา

อย่างไรก็ตามในคนปกติเมื่อเราตัดสินใจที่จะปัสสาวะสมองเราจะสั่งงานให้กล้ามเนื้อหูรูดเปิดออกทำให้เราปัสสาวะจนหมด ซึ่งกล้ามเนื้อหูรูดภายนอกนี้เป็นส่วนหนึ่งของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานและกล้ามเนื้อนี้ช่วยรองรับตัวกระเพาะปัสสาวะไว้ด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นโชคดีของเราที่เรามีกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานนี้รองรับอยู่เพราะถ้าหากเราเพิ่มแรงดันต่างๆไปยังระบบปัสสาวะปกติเช่นการไอ,จาม,หัวเราะ,หรือแม้แต่การกระโดดอาจจะทำให้เกิดอาการปัสสาวะรั่วออกมาแต่เจ้ากล้ามเนื้อหูรูดที่อุ้งเชิงกรานเราช่วยปิดกั้นมันไว้ให้ อย่างไรก็ตามการอั้นปัสสาวะไว้นานๆ หรือปัสสาวะออกมาเร็ว/แรงเกินไป หรือปัสสาวะผิดท่า(เช่นการนั่งลอยๆสำหรับผู้หญิง) อาจจะทำให้กล้ามเนื้อนี้หย่อนยานซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาการควบคุมกล้ามเนื้อหูรูด,กระเพาะปัสสาวะอักเสบ,การกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ดังนั้นถ้าหากเราต้องการมีสุขภาพที่ดีในระยะยาวเราไม่ควรกลั้นปัสสาวะนานๆ

Pixabay

 

ที่มา: TED-Ed
เรียบเรียง: SignorScience