แมงดาทะเล สัตว์ที่มีเลือดสีฟ้าที่เป็นที่ต้องการของมนุษย์

วิทยาศาสตร์ทั่วไป
TBR News

ในช่วงเดือนที่มีอุณหภูมิอุ่นพอเหมาะโดยเฉพาะอย่างยิ่งในคืนที่พระจันทร์เต็มดวง แมงดาทะเล (Horseshoe Crab)จะขึ้นมาบนชายหาดจากทะเลเพื่อวางไข่ ซึ่งผู้ที่รอพวกมันอยู่นั้นก็ไม่ใช่ใครเลยแต่คือมนุษย์ที่ดักรอจับพวกมันนับร้อยๆตัวไปสู่ห้องแล็ปเก็บเลือดสีฟ้าของพวกมันและนำมันกลับไปปล่อยคืนที่ชายฝั่งตามเดิมหลังจากเก็บเลือดของมันเสร็จ

สิ่งที่น่าแปลกก็คือเราจับพวกมันบนชายหาดซึ่งเป็นที่ที่เดียวที่เราจะสามารถพบเจอมันได้ ซึ่งแมงดาทะเลตัวเมียนั้นจะวางไข่ครั้งหนึ่งราว4,000ฟองในแต่ละปี ซึ่งเมื่อตัวอ่อนของพวกมันฟักออกจาไข่มันจะอยู่บริเวณบนชายหาดรอที่จะลอกคราบกระดองของมันเมื่อมันโตขึ้นซึ่งหลังจากที่มันโตขึ้นมันจะลงทะเลและไม่กลับมาอีกเลยจนถึงช่วงเจริญพันธุ์อีก10ปีถัดมา ถึงแม้เราจะพยายามหาพวกมันแต่เราไม่รู้เลยว่าพวกมันใช้เวลา10ปีนั้นอยู่ที่ไหน แต่เราเคยพบเจอพวกมันเป็นครั้งคราวที่ระดับความลึกประมาณ200เมตรจากผิวน้ำแต่กลุ่มที่ถูกพบเจอนั้นก็เป็นกลุ่มที่โตแล้วและกำลังจะกลับมาวางไข่

diarioecologia

เลือดสีฟ้าของแมงดาทะเลมีเซลล์ที่เรียกว่า อะมีโบไซต์ (Amebocytes) เป็นเซลล์ที่ปกป้องพวกมันจากการติดเชื้อของไวรัสทุกชนิด เชื้อรา และแบคทีเรีย ซึ่งเซลล์Amebocytesนี้จะสร้างเจลเพื่อล้อมไวรัสหรือแบคทีเรียที่บุกรุกเข้ามาเพื่อป้องกันการแพร่กระจาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ธรรมดาสำหรับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ สัตว์ทุกชนิดล้วนแต่มีระบบภูมิคุ้มกันแต่Amebocytesของแมงดาทะเลนั้นมีการตอบสนองไวต่อแบคทีเรียที่ชื่อว่า เอ็นโดท็อกซิน (Endotoxins)ซึ่งเป็นโมเลกุลจากผนังเซลล์ของแบคทีเรียบางจำพวกเช่น อีโคไล(E.coli) ซึ่งแบคทีเรียพวกนี้จะถูกปลดปล่อยออกมาในปริมาณมากเมื่อเซลล์ตายซึ่งทำให้เราป่วยได้เมื่อมันเข้าสู่กระแสเลือด

ยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์หลายๆชนิดที่เราใช้อาจจะปนเปื้อนด้วยแบคทีเรียกพวกนี้ได้ดังนั้นเราจึงต้องตรวจพวกมันก่อนที่จะให้มันสัมผัสกับเลือดของเรา โดยปกติเรามีการทดสอบที่ชื่อว่า Gram Stainsที่สามารถตรวจพบแบคทีเรียได้ แต่การตรวจนี้ไม่สามารถตรวจพบ เอ็นโดท็อกซิน(Endotoxins)ได้ซึ่งมันอาจจะมีอยู่ถึงแม้ไม่มีแบคทีเรียปรากฏให้เห็น ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์ใช้สารสกัดที่เรียกว่า LAL ที่ผลิตมาจากเลือดของแมงดาทะเลเพื่อตรวจหาเอ็นโดท็อกซิน ซึ่งหากทดสอบด้วยLALแล้วมีเจลปรากฏขึ้นมาแปลว่ามีแบคทีเรียเอ็นโดท็อกซินอยู่ โดนปัจจุบันการตรวจLALนั้นเป็นที่นิยมและใช้กันอย่างแพร่หลายซึ่งคนหลายล้านคนที่อาจจะยังไม่เคยเห็นแมงดาทะเลได้ถูกช่วยเหลือโดยเลือดของมัน หนึ่งในนั้นอาจจะเป็นคุณหากคุณเป็นคนหนึ่งที่เคยถูกฉีดยา

แต่ทำไมแมงดาทะเลจึงมีเลือดที่พิเศษเช่นนั้น เหมือนกับสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอื่นๆแมงดาทะเลมีระบบหมุนเวียนเลือดแบบเปิดซึ่งแปลว่าเลือดของพวกมันไม่ได้ถูกส่งผ่านโดยหลอดเลือดเหมือนกับเรา แต่เลือดของพวกมันไหลเวียนอย่างอิสระภายในตัวของมันผ่านเนื้อเยื่อโดยตรงและถ้าหากแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกายของพวกมันได้นั่นหมายถึงมันจะแพร่กระจายอย่างรวดเร็วไปทั่วตัวของมัน

แมงดาทะเลนั้นเป็นสัตว์อีกชนิดหนึ่งที่รอดจากการสูญพันธุ์เมื่อหลายล้านปีก่อนซึ่งคร่าสิ่งมีชีวิตกว่า90%บนโลกและยังคร่าชีวิตไดโนเสาร์ในยุคนั้นด้วย แต่แมงดาทะเลนั้นก็ไม่ได้มีชีวิตเป็นอมตะ ซึ่งภัยคุกคามต่อชีวิตของพวกมันที่รุนแรงที่สุดในรอบหลายล้านปีก็คือมนุษย์ จากการศึกษาพบว่า15%ของแมงดาทะเลนั้นตายในขณะที่ถูกเก็บเกี่ยวเลือดและจากงานวิจัยชิ้นล่าสุดบ่งชี้ว่าตัวเลขของแมงดาทะเลที่ตายอาจจะมากกว่านั้น และยังพบอีกว่าปริมาณแมงดาทะเลที่กลับมาวางไข่นั้นน้อยลงทุกๆปี

CNN

การเติบโตของเมืองบริเวณชายหาดนั้นได้ทำลายจุดวางไข่ของพวกมันนอกจากนั้นพวกมันยังถูกจับหรือตายจากการประมง ซึ่งมีหลักฐานชัดเจนว่าประชากรของพวกมันกำลังลดน้อยลง ซึ่งผลกระทบที่เราจะได้รับโดยตรงคือทางอุตสาหกรรมชีวเคมี เพราะเราจะไม่สามารถเก็บเกี่ยวเลือดของพวกมันได้อีกต่อไป ดังนั้นทำให้นักวิจัยหลายๆคนเริ่มที่จะศึกษาการทำเลือดสีฟ้าของแมงดาทะเลแบบสังเคราะห์ในห้องทดลอง

อย่างไรก็ตามมันคงเป็นไปได้ยากที่เราจะหยุดการขยายหรือการท่องเที่ยวตามชายหาด แต่เราหวังว่าจะมีนักวิจัยที่สามารถค้นคว้าเลือดแมงดาทะเลสังเคราะห์ได้ เพราะถ้าหากแมงดาทะเลหมดไปจริงๆเราจะไม่สามารถมีสิ่งที่มาทดแทนเลือดของสัตว์โบราณตัวนี้ได้อีกเลย

 

ที่มา: TED-Ed
เรียบเรียง: SignorScience