ในอนาคตเราอาจจะสามารถระลึกความทรงจำในวัยเด็กได้

วิทยาศาสตร์ทั่วไป
Freeimage

หากถามว่าความทรงจำแรกหลักจากที่เราเกิด 1-2 ปีคืออะไร เราอาจจะไม่สามารถตอบได้ถึงแม้จะพยายามนึกอย่างไรก็ตาม ซึ่งนั่นไม่ได้แปลว่าเราไม่มีความสามารถที่จะจดจำสิ่งต่างๆในวัยเด็ก เด็กวัย2-3ขวบเริ่มที่จะพัฒนาความสามารถในการสังเกตุและเรียนรู้วิธีการสื่อสาร รวมถึงรู้ว่าเรานั้นชอบหรือไม่ชอบสิ่งต่างๆ ประสบการณ์และสิ่งต่างๆที่เราพบเจอในวัยนี้ส่งผลต่อบุคลิกภาพและนิสัยของเราเมื่อเราเติบโตเป็นผู้ใหญ่ แต่ทำไมเราถึงไม่สามารถระลึกความทรงจำเหล่านี้ได้?

ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า”การสูญเสียความทรงจำในวันทารก (Infantile Amnesia)” นักวิทยาศาสตร์คาดว่าการเติบโตอย่างรวดเร็วของนิวรอนใหม่ๆที่เกิดขึ้นในช่วงวัยนี้เป็นปัจจัยที่ส่งผลทำให้เราไม่สามารถระลึกถึงรายละเอียดของเหตุการณ์ต่างๆในวัยเด็ก การพัฒนาของนิวรอนที่เกิดขึ้นใหม่นี้ขัดขวางการจัดเก็บความทรงจำของเราเนื่องจากนิวรอนใหม่นั้นมาแทนที่นิวรอนตัวเก่า

หลักฐานจากการศึกษากับหนูอายุ17วัน (เทียบเท่ากับเด็กทารกวัยหัดเดิน) แสดงให้เห็นถึงอาการชนิดเดียวกันทำให้นักวิทยาศาสตร์ทำการศึกษาเพิ่มเติมกับหนู พวกเขาพบว่าในขณะที่หนูอายุน้อยสามารถจดจำเขตที่มีไฟฟ้าในกล่องที่หนูอาศัยอยู่ได้แต่ความทรงจำนั้นจะหายไปภายใน1วัน อย่างไรก็ตามสำหรับหนูที่โตแล้วความจำจะอยู่ได้นานกว่าหรือไม่หายไป ซึ่งตัวกระตุ้นที่เตือนความจำของหนูเด็กให้สามารถจดจำเขตที่มีไฟฟ้าได้ บอกเป็นนัยว่าความทรงจำของหนูเด็กนั้นไม่ได้หายไปแต่มันถูกจัดเก็บไว้ที่ส่วนอื่นในสมองต่างหาก

ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบสมองหนูเด็กและหนูที่โตแล้ว พวกเขาพบว่ามีโปรตีนกลุ่มหนึ่งที่จะลดหรือเพิ่มในสมองส่วนฮิปโปแคมปัสของหนู การเพิ่มหรือลดนี้ถูกกระตุ้นจากการเรียนรู้ ไม่ใช่เวลา นอกจากนั้นโปรตีนที่ชื่อว่า BDNF แสดงให้เห็นว่ามันสามารถปกป้องความทรงจำของหนูเด็กไม่ให้หายไปได้เมื่อฉีดโปรตีนเข้าไป

Eric Prunier/flickr

โดยทางสมมุติฐานแล้วกระบวนการนี้สามารถนำมาปรับใช้กับมนุษย์ได้ซึ่งจะช่วยป้องกันการสูญเสียความทรงจำวัยเด็กของมนุษย์ได้ และผู้ศึกษาเรื่องนี้ยังศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการนี้ว่ามันสามารถใช้เพื่อป้องกันความทรงจำที่เลวร้ายได้หรือไม่

การศึกษาเรื่องนี้ยังเป็นเพียงระยะเริ่มต้นซึ่งนักวิทยาศาสตร์ผู้ศึกษาเรื่องนี้คิดว่ายังไม่สามารถนำมาใช้กับมนุษย์ได้ และบางกลุ่มยังชี้ให้เห็นว่าสมองมนุษย์และหนูนั้นมีความแตกต่างกันอยู่ อย่างไรก็ตามพวกเขาเชื่อว่าการศึกษาเรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญต่อความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการทำงานของสมองมนุษย์

 

ที่มา: Futurism
เรียบเรียง: SignorScience