ความเครียดของคนอื่นส่งผลต่อสมองของคุณได้หรือไม่?

สุขภาพ

ความเครียดไม่เพียงแพร่กระจายออกไปได้ มันยังเปลี่ยนแปลงสมองในระดับเซลล์ด้วย นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่าความเครียดที่ส่งผ่านมาจากคนอื่นนั้น สามารถเปลี่ยนแปลงสมองเราให้เครียดได้เช่นเดียวกับความเครียดของเราเอง

จากการศึกษาใหม่ในวารสารวิทยาศาสตร์ Nature Neuroscience , ดร. Jaideep Bains และทีมงานของเขาที่ Cumming School of Medical Hotchkiss Brain Institute (HBI) จากมหาวิทยาลัย Calgary ได้ค้นพบว่า ความเครียดที่ส่งผ่านมาจากคนอื่น สามารถเปลี่ยนแปลงสมองได้เช่นเดียวกับความเครียดที่เกิดขึ้นจริงๆ

ศาสตราจารย์ภาควิชาสรีรวิทยาและเภสัชวิทยาและสมาชิกของ HBI ,Bains, กล่าวว่า “การเปลี่ยนแปลงของสมองเกี่ยวข้องกับความเครียดที่สร้างพื้นฐานให้เกิดความเจ็บป่วยทางจิตมากมาย รวมถึง PTSD ซึ่งเป็นอาการเครียดหลังจากเหตุการณ์สะเทือนใจ, ความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า” จากการศึกษาเมื่อเร็วๆนี้แสดงให้เห็นว่าความเครียดและอารมณ์ต่างๆสามารถแพร่กระจายออกไปได้ ไม่ว่าผลที่ตามมายังคงอยู่ในสมองหรือไม่นั้นยังไม่เป็นที่รู้ได้

ทีมวิจัยของ Bains ได้ศึกษาถึงผลของความเครียดในคู่ของหนูตัวผู้และตัวเมียหลายคู่ พวกเขาแยกหนูตัวหนึ่งออกจากแต่ละคู่ และให้พวกมันรับสัมผัสกับความเครียดที่ไม่รุนแรงก่อนที่จะส่งกลับไปหาคู่ของพวกมัน พวกเขาคอยสังเกตการตอบสนองของเซลล์ประสาท CRH ซึ่งควบคุมการตอบสนองของสมองต่อความเครียดในหนูแต่ละตัว มันแสดงให้เห็นว่าเครือข่ายในสมองของทั้งหนูตัวที่เครียดและคู่ของมันที่ไม่รับความเครียด มีการเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะเดียวกัน

Toni-Lee Sterley นักวิจัยในห้องแลปของ Bains กล่าวว่า “ สิ่งที่น่าคิดคือ เซลล์ประสาท CRH จากคู่ของหนูซึ่งไม่ได้เผชิญกับความเครียดที่เกิดขึ้นเอง แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงไปเหมือนกับที่เราวัดได้ในหนูตัวที่เครียด ” จากนั้นทีมงานได้ใช้วิธีการ ออปโตเจเนติกส์(optogenetic) ซึ่งเป็นเทคนิคทางชีววิทยาที่เกี่ยวข้องกับการใช้แสงในการควบคุมเซลล์ เพื่อควบคุมการทำงานของเซลล์ด้วยการปิดหรือเปิดแสง เมื่อทีมงานทำให้เซลล์เหล่านี้สงบนิ่งในช่วงที่มีความเครียด พวกเขาได้ป้องกันการเปลี่ยนแปลงของสมองซึ่งปกติจะเกิดขึ้นหลังจากความเครียด เมื่อพวกเขาทำให้เซลล์สมองของคู่สงบนิ่งในช่วงที่มีการสื่อสารกับตัวที่เครียด ความเครียดนั้นไม่ถูกส่งผ่านไปยังคู่ของมัน เมื่อพวกเขากระตุ้นเซลล์ประสาทเหล่านี้ในหนูตัวหนึ่ง ถึงแม้มันไม่มีความเครียด เมื่อสมองของมันได้รับแสงแล้ว ก็เกิดเปลี่ยนแปลงไปเหมือนกับความเครียดจริง

ทีมงานค้นพบว่าการกระตุ้นเซลล์ประสาท CRH เหล่านี้ ทำให้เกิดการปล่อยสารเคมี ‘ฟีโรโมนเตือนภัย’ จากหนูที่ตัวที่ได้รับแสง ทำให้คู่ของมันตื่นตัว เมื่อคู่ของมันจับสัญญาณนี้ได้ มันสามารถทำให้ตัวอื่นๆที่เหลือในกลุ่มนั้นตื่นตัวไปด้วย การแพร่กระจายของสัญญาณความเครียดนี้ เป็นกลไกหลักในการถ่ายทอดข้อมูลที่อาจมีความสำคัญในการสร้างเครือข่ายสังคมในสายพันธุ์ต่างๆ

ประโยชน์ของเครือข่ายสังคมอีกอย่างคือ ความสามารถในการป้องกันผลกระทบจากเหตุการณ์ในทางลบที่เป็นผลร้าย ทีมงาน Bains ยังพบหลักฐานเกี่ยวกับการป้องกันความเครียด แต่สิ่งนี้มีการคัดสรร พวกเขาสังเกตเห็นว่า ผลของความเครียดต่อเซลล์ประสาท CRH ในหนูตัวเมียที่ค้างอยู่ ลดลงเกือบครึ่งหนึ่งตามเวลาที่คู่ไม่เครียด ซึ่งสิ่งนี้ไม่เป็นกับตัวผู้

Bains ชี้ให้เห็นว่าการค้นพบนี้อาจมีอยู่ในมนุษย์ “เราพร้อมที่จะสื่อความเครียดของเรากับคนอื่นๆโดยที่ไม่รู้ตัวในบางครั้ง แม้จะมีหลักฐานว่าอาการบางอย่างของความเครียดสามารถอยู่ได้ในครอบครัวและคนที่รักที่ทุกข์ทรมานจากอาการเครียดหลังจากเหตุการณ์สะเทือนใจ มองอีกด้านความสามารถในการรับรู้อารมณ์ของผู้อื่น เป็นส่วนสำคัญในการก่อให้เกิดการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม “

งานวิจัยจากห้องแลปของ Bains ชิ้นนี้ แสดงให้เห็นว่าความเครียดและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมมีการเชื่อมโยงกันอย่างซับซ้อน ผลที่ตามมาของการสื่อสารเหล่านี้อาจยังคงมีอยู่ไปยาวนาน และอาจมีผลต่อพฤติกรรมในเวลาต่อมา

 

 

ที่มา: ScienceDaily
เรียบเรียง: SignorScience