ปัญญาประดิษฐ์ (AI )เพิ่งตรวจพบคลื่นความถี่วิทยุ 72 คลื่นที่อาจมาจากนอกโลก

อวกาศ
Jingchuan Yu, Beijing Planetarium

การค้นหาชีวิตนอกโลกบนฟากฟ้าหมายถึงการใช้เวลาอย่างมากในการแยกสัญญาณจากเสียงรบกวน แต่โชคดีที่ AI เก่งในเรื่องนั้น 


จากการวิจัยใหม่ที่ถูกยอมรับโดย The Astrophysical Journal นักวิจัยได้อธิบายถึงวิธีการที่พวกเขาใช้ข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้ก่อนหน้านี้ จากคลื่นวิทยุเข้มข้นสูงจากอวกาศ (Fast Radio Bursts หรือ FRBs) ซึ่งเป็นคลื่นลึกลับชนิดหนึ่งที่อยู่ห่างไปหลายพันล้านปีแสง เพื่อใช้ในการฝึกโครงข่ายประสาทเทียมเพื่อค้นหาอีกหลายสิบคลื่นที่นอกเหนือจากข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้แล้ว

FRBs หรือที่เรียกว่า “cosmic whistles” เป็นพลังคลื่นสั้นๆ ที่ส่งออกมาจากอวกาศที่ไกลโพ้น นักวิทยาศาสตร์ไม่รู้ว่าอะไรเป็นสาเหตุของพวกมัน แต่พวกเขามีทฤษฎีบางอย่างว่า มันสามารถสร้างขึ้นได้โดยดาวนิวตรอน (ดาวที่มีขนาดเล็กมากและมีความหนาแน่นมาก ซึ่งเกิดจากซุปเปอร์โนวา) ที่ทำให้เป็นแม่เหล็ก และหลุมดำ หรืออาจเป็นสัญญาณมาจากสังคมต่างดาว

คลื่นวิทยุจากอวกาศนี้สั้นมากจนทำให้อ่อนล้าในการตรวจจับด้วยตนเอง ดังนั้นจึงทำใหเป็นเหตุผลที่ ปัญญาประดิษฐ์จะสามารถช่วยได้

เริ่มแรก นักวิจัยจาก University of California Berkeley ได้ฝึกอัลกอริธึมของพวกเขาเพื่อตรวจจับ FRBs โดยใช้ข้อมูลที่บันทึกไว้ได้ก่อนหน้านี้ จากนั้นพวกเขาก็ปล่อยให้มันทำงาน โดยส่งกิจกรรมของคลื่นวิทยุที่รวบรวมได้ให้มัน 5ชั่วโมงซึ่งเป็นคลื่นวิทยุที่เก็บรวบรวมจากส่วนหนึ่งของท้องฟ้าที่มักจะส่งกลับมาเป็นข้อมูลของคลื่นวิทยุจากอวกาศ ในข้อมูลที่อัลกอริธึมระบุว่ามีคลื่นใหม่จำนวน 72 คลื่น ทำให้ตัวเลขที่เคยรู้มาจากแหล่งข้อมูลเดียวเพิ่มไปเป็น 300 คลื่น

“งานชิ้นนี้น่าตื่นเต้นไม่เพียงเพราะช่วยให้เราเข้าใจถึงพฤติกรรมแบบไดนามิกของคลื่นวิทยุเข้มข้นสูงจากอวกาศที่ลงในรายละเอียดที่มากขึ้น แต่ยังเป็นเพราะสิ่งนี้เป็นสิ่งยืนยันที่จะแสดงให้เห็นว่าการใช้การเรียนรู้ด้วยเครื่องสามารถตรวจจับสัญญาณที่ตกหล่นไปได้ด้วยด้วยอัลกอริธึมตามแบบแผน” แอนดรูว์ ซีเมียน ผู้อำนวยการศูนย์วิจัย Berkeley SETI และนักวิจัยหลักของงานวิจัยชิ้นใหม่ กล่าว

ทีม Berkeley เชื่อว่าข้อมูลนี้สามารถช่วยนักดาราศาสตร์บนโลกหาสาเหตุของคลื่นวิทยุนี้ได้ พวกเขายังหวังว่ามันจะสร้างแรงบันดาลใจให้คนอื่นมองหาวิธีที่จะประยุกต์ใช้ AI กับดาราศาสตร์วิทยุ

 

ที่มา: Futurism
เรียบเรียง :SignorScience