ฟันที่สึกของไดโนเสาร์ให้ความกระจ่างกับเรื่องชีวิตการกินเนื้อสัตว์อื่นของพวกมัน

วิทยาศาสตร์ทั่วไป

เทโรพอด -ไดโนเสาร์จำพวกกินเนื้อ -มีชนิดหนึ่งที่เหมือนนก จากยุคครีเทเซียส (100.5-66 ล้านปีก่อน) ในสเปนและแคนาดา ต่างพึ่งพากลยุทธ์การเจาะและกัดดึง เพื่อฆ่าและกินเหยื่อของพวกมัน แต่จากการตรวจสอบอย่างใกล้ชิดเกี่ยวกับรูปแบบของการสึกหรอและการสร้างแบบจำลองของฟันที่เหมือนซี่ใบเลื่อยของพวกมัน ซึ่งรายงานข่าวใน Current Biology เมื่อวันที่ 26 เมษายน ชี้ให้เห็นว่า ไดโนเสาร์เหล่านี้ไม่จำเป็นต้องเป็นคู่แข่งกันในเรื่องอาหารมื้อต่อไป บางตัวเห็นได้ชัดว่าล่าเหยื่อตัวที่ใหญ่กว่า , เหยื่อที่ดิ้นรนขัดขืน ขณะที่ตัวอื่นๆ อยู่กับเหยื่อที่แรงน้อย หรือเล็กกว่า

“ไดโนเสาร์ทั้งหมดเหล่านี้อาศัยอยู่ในเวลาเดียวกันและสถานที่เดียวกัน ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะรู้ว่า พวกมันกำลังแข่งกันเพื่อหาแหล่งอาหาร หรือว่ามุ่งเป้าไปที่เหยื่อที่แตกต่างกัน” 

แองเจลิก้า โทริเชส (Angelica Torices) จาก Universidad de La Rioja ประเทศสเปน กล่าวว่า “ด้วยการศึกษานี้เราสามารถเริ่มทำความเข้าใจ เกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างพวกไดโนเสาร์ที่กินเนื้อในระบบนิเวศน์เหล่านี้ได้ดีขึ้นเล็กน้อย เราพบว่า โดยทั่วไป ไดโนเสาร์ กลุ่มซิลูโรซอเรีย (coelurosauria) กัดกินในแบบที่เหมือนกัน คือแบบเจาะและดึง 

แต่ กลุ่มโทรโอดอนทิด (troodontids) และ กลุ่มโดรมีโอซอริด (dromaeosaurids) อาจชื่นชอบเหยื่อที่แตกต่างกัน ” เธอกล่าวว่า โทรโอดอนทิด อาจชอบเหยื่อที่ลดแรงกัดน้อยลง เมื่อเปรียบเทียบกับโดรมีโอซอร์ 

ส่วนซิลูโรซอเรีย รวมอยู่ในกลุ่มเทโลพอด ที่เชื่อมโยงกับนกมากกว่าไดโนเสาร์อื่น ๆ รวมทั้ง อัลโลซอรัส ที่อาศัยอยู่ในยุคจูราสสิคเมื่อ 155-145 ล้านปีก่อน

แองเจลิก้ามีความสนใจในเรื่องฟันของไดโนเสาร์กินเนื้ออยู่เสมอมา ในตอนแรก เป้าหมายของเธอคือการจับคู่ฟันกับชนิดของไดโนเสาร์ของพวกมัน เมื่อเวลาผ่านไปเธอเริ่มอยากรู้ว่าไดโนเสาร์ชนิดต่างๆใช้ฟันของพวกมันอย่างไร ,จะเชื่อมโยงรูปทรงฟันและขนาดที่เจาะจงได้อย่างไร และสิ่งที่เธออาจได้เรียนรู้เกี่ยวกับชีวิตไดโนเสาร์เหล่านั้นขึ้นอยู่กับฟันของพวกมัน

แรกเริ่ม แอลเจลิก้าได้ตรวจสอบ microwear หรือรูปแบบของรอยขูดเล็กๆ บนฟันเพื่อดูว่าเธอสามารถสร้างรูปแบบใดได้ขณะที่ไดโนเสาร์ต่างๆกำลังกินอาการ เธอและเพื่อนร่วมงาน ไรอัน วิลคินสัน ( Ryan Wilkinson) จากมหาวิทยาลัยอัลเบอร์ทา, แคนาดา (University of Alberta, Canada) ได้ใช้วิธีการแบบจำลองที่เรียกว่าการวิเคราะห์องค์ประกอบแบบจำกัดขอบเขต ซึ่งใช้กันทั่วไปในการแก้ปัญหาทางวิศวกรรมและฟิสิกส์เชิงคณิตศาสตร์ เพื่อสำรวจว่าฟันของไดโนเสาร์ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมอย่างไรในมุมที่ตัดแตกต่างกัน

ทั้ง 2 วิธีการนำไปสู่ข้อสรุปแบบทั่วไปที่เหมือนกัน เธอกล่าวไดโนเสาร์ทุกตัวใช้การเคลื่อนไหวในการกินอาหารแบบเจาะและดึงซึ่งเป็นรอยขูดแบบขนานกันขณะที่พวกมันกัดลงไปที่เหยื่อ ตามด้วยรอยลาดเอียงขณะดึงหัวกลับมาข้างหลังด้วยปากที่ปิดอยู่ อย่างไรก็ตาม พวกเขาพบว่า รูปแบบฟันที่แตกต่างกันมีลักษณะตามรูปแบบต่างๆของการกัดกิน

หลักฐานแสดงให้เห็นว่าฟันของโดรมีโอซอรัส (Dromaeosaurus) และ ซอรอร์นิโธเลสทิส (Saurornitholestes) มีการปรับตัวที่ดีในการจัดการกับเหยื่อที่ดิ้นรนขัดขืน หรือสำหรับการเคี้ยวกระดูกเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของอาหารของพวกมัน จากการเปรียบเทียบนี้ ฟันของโทรโอดอน (Troodon) มีแนวโน้มที่จะล้มเหลวในมุมกัดที่ติดขัดเหล่านี้ การค้นพบนี้ชี้ให้เห็นว่าไดโนเสาร์กลุ่มโทรโอดอนทิด อาจชอบเหยื่อที่อ่อนนุ่มกว่า เช่น สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง, เหยื่อขนาดเล็กที่ต้องการแรงกัดที่น้อยกว่า หรืออาจกลืนกินได้ทั้งตัว หรือเป็นเหยื่อที่ไม่เคลื่อนไหว เช่น สัตว์ที่ตายแล้ว 

แองเจลิก้ากล่าวว่า นักวิจัยกำลังทำงานเพื่อพัฒนารูปแบบที่ซับซ้อนมากขึ้นในการรวมฟันพร้อมกับรากฟันและขากรรไกร เพื่อทำความเข้าใจกับกระบวนการกัดกินให้ดีขึ้น

 

ที่มา: ScienceDaily
เรียบเรียง: SignorScience