อาการปวดศีรษะเกิดจากอะไร?

สุขภาพ

ในสมัยกรีกโบราณ การปวดศีรษะ ถือว่าเป็นความทุกข์หนัก ผู้ที่เป็นเหยื่อของความเจ็บปวดนี้จะอธิษฐานขอความช่วยเหลือจากเทพอัสคลิปิอุส (Asclepius) เทพเจ้าแห่งการแพทย์ให้บรรเทาความปวดลง ถ้าอาการปวดยังคงมีต่อไป แพทย์สมัยนั้นจะทำการรักษาอย่างที่ดีที่สุด โดยการเจาะรูเล็กๆในกะโหลกศีรษะเพื่อระบายเลือดที่คาดว่าจะติดเชื้อ เทคนิคที่น่ากลัวนี้ เรียกว่า เทรพเพนเนชั่น (trepanation) ซึ่งมักจะเปลี่ยนอาการปวดศีรษะให้มีสภาพที่ถาวรมากขึ้น โชคดีที่แพทย์ปัจจุบันไม่ได้ใช้เครื่องมือหนักในการรักษาอาการปวด แต่เรายังมีอะไรอีกมากมายที่จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับโรคโบราณนี้ 


ปัจจุบัน เราแบ่งอาการปวดศีรษะออกเป็น 2 กลุ่ม คือการปวดศีรษะขั้นปฐมภูมิ ( primary headaches ) และการปวดศีรษะ ขั้นทุติยภูมิ ( secondary headaches ) ในขั้นปฐมภูมินั้น ไม่ใช่อาการของโรค การบาดเจ็บ หรือความเจ็บป่วย แต่มันเป็นสภาวะมาจากปัจจัยแวดล้อม 
ในขณะที่อาการปวดศีรษะขั้นนี้ คิดเป็น 50% ของเคสทั้งหมดที่มีรายงานเข้ามา ทำให้เราเรียนรู้มากขึ้นเกี่ยวกับอาการปวดศีรษะขั้นทุติยภูมิ สาเหตุเหล่านั้นเกิดจากปัญหาสุขภาพอย่างอื่น เช่น จากภาวะการขาดน้ำ , ภาวะการถอนคาเฟอีน จนถึงการบาดเจ็บที่ศีรษะ , และโรคหัวใจ แพทย์ได้จำแนกประเภทจากการวินิจฉัยโรคได้กว่า 150 ชนิด ซึ่งมีสาเหตุของอาการ และการรักษา ที่แตกต่างกันไป แต่เรายกจะตัวอย่าง 1 กรณีที่พบทั่วไปในขั้นทุติยภูมินี้ คือ ไซนัสอักเสบ

 ไซนัสเป็นเป็นระบบหนึ่งซึ่งเกี่ยวกับโพรงที่กระจายอยู่หลังหน้าผาก จมูก และแก้มด้านบน เมื่อรูจมูกของเราติดเชื้อ การตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันของเราจะเพิ่มขึ้นในบริเวณนั้น เพื่อกำจัดแบคทีเรียและทำให้ช่องว่างที่เป็นโพรงเหล่านั้นบวมขึ้นจากขนาดปกติ โพรงจมูกอักเสบที่บวมนั้นจะกดทับหลอดเลือดแดงที่กะโหลกศีรษะ และหลอดเลือดดำ ตลอดจนกล้ามเนื้อบริเวณคอและศีรษะ ตัวรับความเจ็บปวดที่เรียกว่า โนซิเซ็ปเตอร์ (nociceptor) ซึ่งเป็นปลายประสาทอิสระของเซลล์ประสาทรับความรู้สึก จะกระตุ้นให้เกิดการตอบสนอง สมองจะหลั่งสารสื่อประสาท ,นิวโรเปปไทด์ (neuropeptides ) ที่ทำให้หลอดเลือดแดงในกะโหลกศีรษะบวม พองออกและศีรษะร้อนขึ้น อาการไม่สบายนี้ เมื่อจับคู่กับกล้ามเนื้อศีรษะที่มีความไวต่อแรงกดสูง ทำให้เกิดอาการปวด เป็นความเจ็บที่เต้นเป็นจังหวะตุ๊บๆเมื่อเราปวดศีรษะ แต่อาการนี้ไม่ได้มาจากการบวมทั้งหมด กล้ามเนื้อที่ตึงและการอักเสบของเส้นประสาทที่ไวต่อการรับรู้ ทำให้เกิดอาการปวดที่แตกต่างกันในแต่ละระดับ แต่ทุกกรณี เป็นปฏิกิริยาที่เกิด เพราะมีบางอย่างที่รบกวนอยู่ในกะโหลกศีรษะ

ขณะที่สาเหตุของอาการปวดศีรษะขั้นทุติยภูมิเป็นที่ชัดเจน แต่ต้นกำเนิดของในขั้นปฐมภูมินั้น ยังไม่ทราบสาเหตุ

นักวิทยาศาสตร์ยังคงค้นหาจุดเริ่มต้นที่เป็นไปได้ที่ก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะขั้นปฐมภูมิ ซึ่งมีอยู่ 3 ลักษณะคือ การปวดหัวไมเกรน ที่เกิดขึ้นซ้ำได้ และกินเวลานาน ,การปวดศีรษะคลัสเตอร์ ที่มีอาการปวดแบบเป็นชุดๆในช่วงเวลาเดิม อาจร่วมกับมีอาการระบบประสาทอัตโนมัติที่ผิดปกติ และที่พบมากที่สุดคืออาการปวดศีรษะจากความเครียด

จาก 3 รูปแบบของขั้นปฐมภูมิที่กล่าวมา การปวดศีรษะจากความเครียด เป็นที่รู้จักกันดีว่ามันสร้างความรู้สึกเหมือนแถบคาดแน่นๆที่บีบรัดรอบศีรษะ การปวดประเภทนี้จะเพิ่มแรงกดของกล้ามเนื้อบริเวณรอบศีรษะ ทำให้ปวดอย่างเป็นจังหวะ จากรายงานของคนไข้ในเรื่องของความเครียด การขาดน้ำ และการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิด สิ่งเหล่านี้ไม่ลงตัวกับอาการที่เกิดอย่างถูกต้อง เช่น ในอาการปวดศีรษะจากการขาดน้ำนั้น สมองกลีบหน้าจะหดตัวลงจากกะโหลกศีรษะ ทำให้หน้าผากบวมขึ้น มันจึงไม่ตรงกับตำแหน่งของอาการปวดหัวจากความเครียด 

นักวิทยาศาสตร์มีหลายทฤษฎีเกี่ยวกับสาเหตุที่แท้จริง ตั้งแต่ช่วงการบีบเกร็งของหลอดเลือด ไปจนถึงตัวรับความเจ็บปวดที่ไวมากเกินไป แต่ก็ยังไม่มีใครรู้แน่นอน ในขณะเดียวกัน การวิจัยเกี่ยวกับอาการปวดหัวส่วนใหญ่เน้นเรื่องอาการปวดหัวขั้นแรกที่รุนแรงมากกว่า

ไมเกรนเป็นอาการปวดศีรษะที่เกิดขึ้นได้หลายครั้ง ซึ่งสร้างความรู้สึกปวดแบบตึงๆในกะโหลกศีรษะ และสามารถปวดอยู่ได้นาน ตั้งแต่ 3 ชั่วโมงถึง 3 วัน ใน 20% ของเคสต่างๆ อาการปวดนี้มีความรุนแรงพอที่จะทำให้สมองใช้พลังงานไฟฟ้ามากเกินไป ซึ่งไปกระตุ้นความรู้สึกของปลายประสาทอย่างรุนแรง

สิ่งนี้สร้างให้เกิดอาการประสาทหลอนที่เรียกว่า ออร่า ( Auras) เป็นอาการเตือนก่อนชักในผู้ป่วย ซึ่งรวมถึงการเห็นแสงสว่างวาบขึ้นมา การเห็นเป็นรูปทรงทางเรขาคณิต และความรู้สึกซ่าเหมือนเหน็บชา

อาการปวดศีรษะคลัสเตอร์เป็นอาการปวดศีรษะขั้นปฐมภูมิอีกประเภท ที่ความเจ็บปวดพุ่งออกมาทิ่มแทงหลังดวงตาข้างใดข้างหนึ่ง ทำให้เกิดอาการตาแดง ม่านตาหดตัว และหนังตาปิดต่ำลงมา จนลืมตาได้ลำบาก 

แล้วสิ่งใดที่เราสามารถทำได้เกี่ยวกับอาการเหล่านี้ที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้คนเป็นอย่างมาก? 

การปวดศีรษะจากความเครียด และการปวดศีรษะขั้นทุติยภูมิส่วนใหญ่สามารถรักษาได้ด้วยยาแก้ปวด เช่นยาต้านการอักเสบที่ช่วยลดอาการบวมของกะโหลกศีรษะ การปวดศีรษะขั้นทุติยภูมิหลายอย่าง เช่น จากการขาดน้ำ หรืออาการปวดตา และความเครียด สามารถหลีกเลี่ยงจากการใช้ยา

แต่ไมเกรนและอาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์มีความซับซ้อนมากกว่า เรายังไม่สามารถค้นพบวิธีการรักษาที่เชื่อถือได้ ซึ่งใช้ได้กับทุกคน แต่เภสัชกรและนักประสาทวิทยากำลังทำงานหนัก เพื่อไขความลึกลับที่หนักหน่วงนี้

 

ที่มา: TED-Ed
เรียบเรียง: SignorScience