สีนัยน์ตาที่พบได้ยากและตาสองสี

วิทยาศาสตร์ทั่วไป

คนเอเชียส่วนใหญ่ส่วนมากจะมีนัยน์ตาสีน้ำตาลและน้ำตาลเข้ม(โดยทั่วไปอาจมองว่าเป็นสีดำ) ซึ่งพบได้ง่ายและเรามักคุ้นชินกันอยู่แล้ว สีที่เกิดขึ้นมีปัจจัยอย่างความเข้มข้นของเมลานินหรือเม็ดสีซึ่งถ่ายทอดทางพันธุกรรมซึ่งทำให้บางสีพบได้ยากและรวมไปถึงตาสองสีด้วย

นัยน์ตาสีที่มากที่สุดคือสีน้ำตาลหรือน้ำตาลเข้ม พบได้มากกว่า 55%ของประชากรโลกในแถบเอเชียและแอฟริกา    

นัยน์ตาสีฟ้า พบได้ประมาณ8%ของประชากรโลกส่วนมากในแถบทะเลบอลติกและยุโรปตอนบน นัยน์ตาสีเทา-เงินเป็นส่วนหนึ่งของชนิดนัยน์ตาสีฟ้าแต่มีเมลานินที่น้อยกว่า

นัยน์ตาสีอำพัน(เหลือง-ทอง) อาจถูกเรียกว่า นัยน์ตาหมาป่า (Eyes of Wolves ) พบได้ประมาณ3-5%ของประชากรโลก แต่เกิดได้บ่อยในสัตว์อย่าง สุนัข แมว นกฮูกและเหยี่ยว พบได้ในคนแถบอเมริกาใต้และเอเชียตะวันตก

สีนัยน์ตาที่พบได้น้อยที่สุดคือสีเขียว ซึ่งพบได้น้อยกว่า2%จากจำนวนประชากรโลก พบได้มากในคนแถบยุโรปตอนเหนือและตอนกลาง

นัยน์ตาสีม่วงและสีแดง พบได้น้อยเช่นกันแต่ไม่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มนัยน์ตาสีที่พบได้ยาก เพราะทางพันธุกรรมแล้วมนุษย์ไม่มีนัยน์ตาสีม่วงและแดง แต่มีสาเหตุมาจากการขาดเมลานินหรือเม็ดสีในดวงตา ซึ่งเกิดได้บ่อยในผู้เป็นโรคผิวเผือก สีที่เห็นจึงเกิดจากการสะท้อนของเส้นเลือดฝอยหลังม่านตา

 

นัยน์ตาสองสี Heterochromia Iridum หรือเรียกกันง่ายๆว่า Odd eye ซึ่งเกิดจากการที่ค่าเม็ดสีเมลานินในดวงตาทั้งสองข้างไม่เท่ากัน ซึ่งมีโอกาสเกิดเป็นสีใดก็ได้ตามสายพันธุกรรม ซึ่งจำแนกได้สามแบบ

1)Complete heterochromia สีนัยน์ตาทั้งสองต่างกันชัดเจน โดยไม่มีสีอื่นเจือปนอยู่ในม่านตา
2)Partial heterochromia (หรือ sectoral heterochromia) สีนัยน์ตามีบางส่วนที่มีสีอื่นเจือปนอยู่บางส่วนในม่านตา อาจเป็นข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้
3)Central heterochromia สีนัยน์ตามีสองสีในข้างเดียวซึ่งจะอยู่ในส่วนของรอบนอกรูม่านตาและอีกสีอยู่ภายในรูม่านตา อาจเป็นข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้

 

 

ที่มา: owlcation.com
เรียบเรียง: SignorScience