แผ่นจารึกที่อาจบันทึกหลักตรีโกณมิติที่หายสาบสูญไป

วิทยาศาสตร์ทั่วไป

 

แผ่นจารึกโบราณจากยุคบาบิโลเนียที่ถูกตั้งชื่อว่า Plimpton 322 ซึ่งนักโบราณคดีเคยตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่ามันอาจเป็นแค่แบบฝึกหัดตรีโกณมิติในสมัยนั้น แต่ภายหลังมีนักคณิตศาสตร์จากมหาวิทยาลัย นิวเซาท์เวลล์ Daniel F.Mansfield และ Norman Wildberger ได้ศึกษาและคาดว่ามันอาจจะเป็น หลักตรีโกณมิติเชิงลึกที่ก้าวหน้ากว่าของยุคกรีกที่เราคิดว่าเป็นผู้ค้นพบและใช้กันมาถึงปัจจุบันก็เป็นได้

แผ่นจารึกดินเหนียว ถูกค้นพบเมื่อต้นทศวรรษ1920บริเวณทางตอนใต้ของอิรัก คาดว่าถูกทำขึ้นเมื่อ 1800-1762 ปีก่อนคริสต์ศักราชหรือเกือบ 3,600 ปีที่แล้ว แผ่นจารึกกว้าง5นิ้วและสูง3นิ้ว บนแผ่นมีอักษรรูปลิ่มหรือคูนิฟอร์ม ซึ่งสอดคล้องกับรูปทรงของสามเหลี่ยมพีทาโกรัสที่ไม่เคยมีในบันทึกมาก่อนในหลักตรีโกณมิติ ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นจริงแผ่นจารึกนี้มีแบบตรีโกณมิติที่สมบูรณ์ที่สุดเท่าที่เคยค้นพบมาเพราะนอกจากจะมีวิธีคำนวนที่แปลกใหม่แล้วยังใช้เลขฐาน60ในการคำนวนทำให้คำนวนได้แม่นยำกว่าเลขฐาน10ที่เราใช้คำนวนกันอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งช่วยในการคำนวนสิ่งก่อสร้างต่างๆในสมัยนั้น ถึงแม้จะมีความเป็นไปได้สูงแต่ข้อสันนิฐานนี้ยังอยู่ในการพิจารณาในหมู่นักคณิตศาสตร์อยู่เพราะยังไม่หลักฐานบ่งชี้แน่ชัดถึงการใช้แผ่นจารึกดังกล่าวในอดีต

การหารจำนวนเงินอย่าง 1 บาท หารกัน3คน จะได้คนละ 33 สตางค์ซึ่งจะมีเศษ1 แต่ถ้าหากใช้เลขฐาน60แบบเดียวกับที่ใช้คำนวนเวลาอย่าง 1ชั่วโมง หาร3 จะได้20นาที

 

 

ที่มา: theverge.com
เรียบเรียง: SignorScience