ทำไมเราจึงควรทาครีมกันแดดก่อนออกจากบ้าน ตอนที่1

สุขภาพ
Shutterstock/Creative Family

เกิดอะไรขึ้นเมื่อแสงแดดโดนผิวหนังของเรา?

แสงอาทิตย์ประกอบด้วยพลังงานที่เรียกว่า”โฟตอน” แสงที่เราสามารถมองเห็นโดยทั่วไปนั้นไม่ได้ส่งผลเสียต่อผิวหนังของเรา แต่สิ่งที่ทำร้ายผิวหนังของเราคือรังสียูวี หรือ รังสีอัลตร้าไวโอเล็ต รังสียูวีแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ ยูวีเอ UVA (ความยาวคลื่น 320-400 นาโนเมตร) และ ยูวีบี UVB (ความยาวคลื่น 280-320 นาโนเมตร)

ผิวหนังของเรามีโครงสร้างโมเลกุลที่สามารถดูดซับพลังงานโฟตอนของรังสี UVA และ UVB ได้เป็นอย่างดีทำให้พลังงานนี้ซึมเข้าสู่ผิวหนัง ซึ่งเมื่อดูดซึมเข้ามาก็จำเป็นต้องปล่อยออกไปเช่นกัน การปล่อยพลังงานนี้กลับออกไปก่อให้เกิดปฏิกริยาทางเคมีในชั้นโมเลกุล

ที่น่าแปลกก็คือ ในสมัยก่อนผลของการที่ผิวหนังของเราโดนแดดถูกเข้าใจกว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีเช่นการมีผิวสีแทนสำหรับคนต่างชาติ ซึ่งในปัจจุบันผู้คนต่างเข้าใจว่ามันเป็นรูปแบบของความเสียหายของผิวหนัง การที่ผิวเราเปลี่ยนเป็นสีแทนหรือดำขึ้นเนื่องจากการผลิตเม็ดสีเมลานินถูกชักนำโดยรังสี UVA ซึ่งนำไปสู่ความเสียหายของเซลล์ผิวหนัง

Shutterstock

เราอาจจะรู้กันดีกว่ารังสี UVA มีความสามารถในการทะลุผ่านผิวหนังมากกว่า UVB ซึ่งมันจะทำลายโครงสร้างโปรตีนที่เรียกว่า คอลลาเจน Collagen เมื่อคอลลาเจนถูกทำลาย ผิวหนังของเราจะขาดความยืดหยุ่นและความเรียบเนียนทำให้เกิดรอยเหี่ยวย่น รังสี UVA เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดริ้วรอยซึ่งเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความแก่ชราที่สามารถเห็นได้ชัดเจน ในขณะที่รังสี UVB เป็นตัวที่ก่อให้เกิดร่องรอยการไหม้ของผิวหนัง จึงให้จำว่า UVA ตัวอักษร A มาจาก aging หรือความแก่ชรา และ UVB ตัวอักษร B มาจาก burn หรือการไหม้

นอกจากนั้น DNA ในตัวของเราก็สามารถดูดซึมรังสีทั้งสองนี้ได้เช่นกัน ซึ่งนำไปสู่การกลายพันธุ์หรือการเปลี่ยนแปลงสภาพของผิวหนัง (Mutation) หากไม่ได้รับการรักษาซ่อมแซมจะก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนังในที่สุด ดังนั้นผิวหนังของผู้ที่สัมผัสกับแดดบ่อยๆโดยไม่มีการป้องกันจึงดูมีรอยเหี่ยวย่นและดูมีอายุมากกว่าผู้มีสัมผัสกับแดดน้อยและมีการป้องกัน

 

 

ที่มา: BusinessInsider
เรียบเรียง: SignorScience