เคนยาเริ่มบังคับใช้กฏหมายห้ามใช้ถุงพลาสติก ฝ่าฝืนมีโทษปรับและจำคุก

สิ่งแวดล้อม
Photograph: Daniel Irungu/EPA

รัฐบาลประเทศเคนยาเริ่มบังคับใช้กฏหมายห้ามการใช้ถุงพลาสติกซึ่งกฏหมายฉบับนี้ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อช่วยอนุรักษ์สิ่งเแวดล้อมหลังจากการใช้ความพยายามในการบังคับใช้กฏหมายนี้มาหลายปี โทษของการฝ่าฝืนคือจำคุกสูงสุด4ปีและปรับเงินสูงสุดถึง40,000ดอลล่าสหรัฐหรือ1.3ล้านบาท โดยที่กลุ่มธุรกิจได้ยื่นคำร้องคัดค้านการบังคับใช้กฏหมายฉบับนี้เนื่องจากการใช้กฏหมายฉบับนี้จะทำให้แรงงานกว่า80,000คนต้องตกงาน แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ

อย่างไรก็ตามนอกจากประเทศเคนยาแล้วยังมีอีกหลายประเทศที่มีการบังคับใช้กฏหมายเกี่ยวกับการใช้ถุงพลาสติกเช่น ประเทศมอริเตเนีย,เอริเทรีย,รวันดา ในแอฟริกา ปัจจุบันปัญหาขยะพลาสติกถือว่าเป็นปัญหาสำคัญในด้านสิ่งแวดล้อมที่หลายๆประเทศในแอฟริกากำลังเผชิญอยู่ซึ่งมีการคาดการณ์ตัวเลขการใช้ถุงพลาสติกของชาวเคนยาต่อเดือนสูงถึง24ล้านใบ

นอกจากนั้นปัญหาขยะพลาสติกยังส่งผลถึงปศุสัตว์ที่ประชาชนเลี้ยงไว้เนื่องจากสัตว์เหล่านี้กินขยะพลาสติกเข้าไปซึ่งพบว่ามีถุงพลาสติกโพลีเอสทีลีนในระบบทางเดินอาหารของวัวที่ถูกส่งไปยังโรงฆ่าสัตว์ในเมืองไนโรบี วัวบางตัวนั้นมีถุงพลาสติกถึง20ใบอยู่ในท้องซึ่งอาจจะส่งผลให้เกิดปัญหาพลาสติกปนเปื้อนในเนื้อวัว

Pixabay

หลังจากมีการออกกฏหมายนี้ซูเปอร์มาเก็ตต่างๆในกรุงไรโรบีจึงเริ่มที่จะปรับตัวกับกฏหมายนี้โดยการจำหน่ายถุงผ้าแทนซึ่งราคาประมาณ3บาทต่อถุง นอกจากนั้นผู้ที่เดินทางเข้าไปยังประเทศเคนยาและมีถุงพลาสติกติดตัวมาด้วยจะต้องทิ้งถุงพลาสติกไว้ที่สนามบินไม่อนุญาตให้นำเข้าประเทศได้

มีงานวิจัยเกี่ยวกับถุงกระดาษและพบว่ากุงกระดาษที่ใช่สำหรับการใส่ของนั้นต้องนำกลับมาใช้งานอย่างน้อย3ครั้งจึงจะคุ้มกับปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ใช้ในการผลิตและระหว่างการขนส่ง ส่วนถุงพลาสติกชนิดหนาควรจะใช้ประมาณ4ครั้ง และถุงผ้าต้องใช้อย่างน้อย131ครั้ง

 

ที่มา: theguardian
เรียบเรียง: SignorScience