นาซ่าจะส่งเฮลิคอปเตอร์เพื่อค้นหาชีวิตบนดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดของดาวเสาร์

อวกาศ

นาซ่าจะส่งเฮลิคอปเตอร์เพื่อค้นหาชีวิตบนดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดของดาวเสาร์

ภารกิจ Dragonflyนี้ จะใช้เวลา 2 ปีในการบินไปรอบๆ พื้นผิวของไททัน เพื่อศึกษาองค์ประกอบของมันและค้นหาสัญญาณของสิ่งมีชีวิต

องค์การนาซ่าได้ประกาศว่าจะส่งยานอวกาศไปยังพื้นผิวของไททัน ดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดของดาวเสาร์ และเป็นหนึ่งในในการค้นหาสิ่งมีชีวิตเกี่ยวกับจุลินทรีย์นอกโลกที่อยู่ในระบบสุริยะของเรา ภารกิจของ Dragonfly นั้นจะเกี่ยวข้องกับยานใบพัดลำเล็กๆ ที่คล้ายโดรน ซึ่งสามารถบินได้ในระยะสั้นๆบนพื้นผิวของไททัน ซึ่งจะครอบคลุมระยะทางระหว่างภารกิจในเวลา 2ปีได้มากกว่ายานสำรวจใดๆในประวัติศาสตร์



Dragonfly มีกำหนดที่จะถูกส่งขึ้นไปในปี 2025 และจะลงจอดบนไททันในปี 2034 หลังจากเดินทาง 840 ล้านไมล์จากโลก เมื่อยาน Dragonfly ตกลงบนพื้นผิวไททัน มันจะใช้ใบพัด 8 ตัวเพื่อทำการบินระยะสั้นทุกวันของเวลาบนไททัน ( 1 วัน =ประมาณ 16 วันโลก) ตามการออกแบบเบื้องต้น ยานจะสามารถขับเคลื่อนตัวเองได้ที่ประมาณ 20 ไมล์ต่อชั่วโมงและบินไปที่ระดับความสูง 2 ไมล์ขึ้นไป มันจะถูกขับเคลื่อนด้วยความร้อนที่เกิดจากการสลายตัวของพลูโทเนียม -238

แม้จะมีความสามารถในการบินที่เป็นเอกลักษณ์ของยานอวกาศDragonfly แต่เวลาส่วนใหญ่จะอยู่พื้นผิวของไททัน ระหว่างภารกิจประมาณ 2ปีนั้น ยาน Dragonfly จะศึกษาองค์ประกอบของชั้นบรรยากาศ และธรณีวิทยาของดวงจันทร์ ,สำรวจภูมิทัศน์,สำรวจสภาวะและสารเคมีที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางชีวภาพ

พื้นผิวของไททันนั้นมีความหลากหลายเป็นอย่างมาก มันประกอบด้วยแม่น้ำ ทะเลสาบและมหาสมุทรมีเทนเหลวและอีเธน ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของน้ำแข็งบนดวงจันทร์ เนินแคบๆ ซึ่งอาจเกิดจากฝนมีเธนที่ทำให้กลายเป็นน้ำแข็งขึ้นมาหลายร้อยฟุตเหนือพื้นผิว และทอดยาวไปหลายร้อยไมล์รอบๆ เส้นศูนย์สูตรของไททัน ภายใต้เปลือกน้ำแข็งของไททันเป็นมหาสมุทรกว้างใหญ่ไพศาลที่นักวิทยาศาสตร์บางคนสงสัยว่าอาจเป็นแหล่งสะสมของจุลินทรีย์

ไททันเป็นที่สนใจอย่างมากต่อนักชีววิทยาอวกาศ เพราะบรรยากาศที่อุดมไปด้วยไนโตรเจนและมีเธน ช่วยสร้างส่วนผสมที่จำเป็นสำหรับการสร้างโมเลกุลอินทรีย์ที่ซับซ้อนที่เรียกว่าโทลิน ซึ่งเมื่อสัมผัสกับน้ำบนพื้นผิวของไททัน มันอาจให้กรดอะมิโน นอกจากนี้สภาพแวดล้อมบนไททันดูจะคล้ายกับสภาพที่พบในโลกในยุคเริ่มแรก ซึ่งหมายความว่าไททันไม่เพียงเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆในการค้นหาจุลินทรีย์ในมหาสมุทรที่อยู่ใต้พื้นผิว แต่มันยังช่วยให้เราเข้าใจการกำเนิดสิ่งมีชีวิตบนโลกได้ดีขึ้น

สิ่งที่เราได้รู้เกี่ยวกับไททันมีเพียงเมื่อมันถูกค้นพบในช่วง 2ทศวรรษครึ่งที่ผ่านมา เมื่อยานอวกาศ Voyager บินผ่านในช่วงปี 1970 มันไม่สามารถมองผ่านชั้นบรรยากาศของไททันซึ่งหนาเป็น 2เท่าของโลก เราได้เห็นพื้นผิวของไททันเป็นครั้งแรกในปี 1990 ด้วยตัวรับอินฟราเรดบนกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล แต่มันยังไม่ใช่ จนกระทั่งหัวสำรวจฮอยเกนส์ (Huygens Probe ) ได้ทำการลงจอดบนพื้นผิวไททันในปี 2005 ซึ่งนักวิทยาศาสตร์สามารถพูดได้อย่างแน่นอนว่าสภาพพื้นผิวเป็นอย่างไร



หัวสำรวจฮอยเกนส์ ถูกส่งไปยังไททันโดยยานอวกาศแคสสินี ซึ่งได้ถูกวางไว้บนดวงจันทร์หลังจากที่ได้ทำแผนที่ของพื้นผิวเกือบทั้งหมด บริเวณที่หัวสำรวจฮอยเกนส์ลงจอดดูเหมือนจะเป็นท้องทะเลสาบที่แห้ง และส่งภาพแรกจากพื้นผิวของไททันกลับมา มันเผยให้เห็นภูมิทัศน์ที่แห้งแล้งที่เต็มไปด้วยก้อนหินขนาดเล็กที่ทำจากน้ำแข็งใต้ท้องฟ้าสีส้ม หัวสำรวจฮอยเกนส์ ยังคงส่งข้อมูลกลับไปยังยานแคสสินี ประมาณหนึ่งชั่วโมงครึ่งหลัจากนั้น ก่อนที่แบตเตอรี่จะหมดลงตามแผนที่วางไว้

นับตั้งแต่ประวัติศาสตร์ครั้งแรกของหัวสำรวจฮอยเกนส์ ที่ลงไปยังพื้นผิวของดวงจันทร์ที่ไม่ใช่ของโลกเรา นักวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ต่างอยากที่จะกลับไปที่นั่นอีก แม้ว่าโครงการของภารกิจ Dragonfly มีมาตั้งแต่ปี 2000 แต่ได้รับการส่งเสริมครั้งใหญ่เป็นครั้งแรกในปี 2017 เมื่อ NASA เลือกให้มันเป็นหนึ่งในสองตัวเลือกรอบสุดท้ายสำหรับภารกิจ New Frontiers ในครั้งต่อไป โครงการ New Frontiers เริ่มต้นขึ้นในปี 2003 เพื่อให้ทุนสนับสนุนภารกิจการสำรวจระบบสุริยะที่สูงถึง 850 ล้านดอลลาร์ ก่อนหน้า Dragonflyนั้น โครงการ New Frontiers ได้เปิดตัวภารกิจอื่นๆอีก 3 ภารกิจ คือ 

New Horizons- ภารกิจสู่ดาวพลูโต และแถบไคเปอร์( Kuiper belt) ซึ่งเป็นบริเวณที่อยู่เลยวงโคจรของดาวเนปจูนออกไป ที่ด้านนอกระบบสุริยะรอบนอก

Juno -ภารกิจสู่ดาวพฤหัสบดี 

OSIRIS-REx ซึ่งจะส่งตัวอย่างกลับมาจากดาวเคราะห์น้อย 

แต่ละภารกิจเหล่านี้ได้ขยายความเข้าใจของเราอย่างมากเกี่ยวกับระบบสุริยะ และเมื่อ Dragonfly ไปถึงไททัน แน่นอนว่ามันจะยังคงสานต่อเจตนารมณ์นี้

 

ที่มา: Wired
เรียบเรียง: SignorScience