การลบความทรงจำเพื่อรักษา

วิทยาศาสตร์ทั่วไป, สุขภาพ
Freeimage

การลบความทรงจำเพื่อใช้ในการบำบัดทำได้จริงหรือ?

นักวิจัยด้านเซลล์ประสาทได้ค้นพบปฏิกิริยาทางเคมีระหว่างการใช้ความทรงจำถึง 2แบบ ความเชื่อแบบเดิมที่ว่าความทรงจำที่เกี่ยวข้องกับความสะเทือนใจนั้นใช้เส้นประสาทเส้นเดียวกันและประมวลผลในรูปแบบเดียวทำให้ไม่สามารถแยกความต่างจากความทรงจำในระยะยาวได้ ซึ่งการค้นพบนี้อาจจะนำไปสู่การรักษาโดยการใช้ยาเพื่อบำบัดความวิตกกังวลและอาการเครียดที่เกิดจากเหตุการณ์สะเทือนใจ(Post-Traumatic Stress Disorder)หรือเรียกย่อๆว่า PTSD

ทีมนักวิจัยจากศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยโคลัมเบียและมหาวิทยาลัยแมคกริล เพื่อที่จะวิเคราะห์ว่าความทรงจำที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ไม่ดีต่างๆกระตุ้นให้เกิดความวิตกกังวลหรือความกระวนกระวายใจได้อย่างไร พวกเขาได้ศึกษาเซลล์ประสาทหรือ นิวรอน(Neurons) จากทากทะเลชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า Aplysia นิวรอนบันทึกความทรงจำโดยการกระตุ้นให้ตัวมันเกิดการเชื่อมโยงเข้าหากันและก่อให้เกิดความทรงจำในระยะยาว

ประสบการณ์ต่างๆที่เป็นอันตรายต่อตัวเราเช่นการสัมผัสสิ่งของที่ร้อนหรือการถูกทำร้าย นิวรอนจะจดจำโดยการเชื่อมโยงในระดับที่รุนแรงกว่าปกติ เช่นหากเราเคยโดนสุนัขเห่าใส่แล้วโดนมันกัด นิวรอนจะไปกระตุ้นความทรงจำที่เคยสร้างไว้ว่าเคยโดนกัดและทำให้เกิดการวิตกกังวลขึ้นเมื่อถูกสุนัขเห่าใส่เพื่อให้เราระวังตัว แต่สำหรับผู้ที่เป็น PTSD อาจจะเป็นเหตุการณ์บางอย่างเช่น “การที่คุณเดินเข้าไปในเขตที่ไม่คุ้นเคย และเดินเข้าไปในตรอกมืดๆซึ่งคิดว่าเป็นทางลัดแต่คุณกลับถูกจี้ชิงทรัพย์ ในขณะที่คุณกำลังถูกปล้นคุณมองเห็นกล่องจดหมายสีแดง และหลังจากเหตุการณ์นั้นเมื่อคุณเห็นกล่องจดหมายสีแดงหรือการส่งจดหมาย คุณจะเกิดความเครียดและรู้สึกวิตกกังวลถึงเหตุการจี้ชิงทรัพย์นั้น” ความทรงจำที่ไม่ดีเหล่านี้ก็จะถูกกระตุ้นซ้ำๆเมื่อเจอกับสิ่งเร้าซึ่งมันไม่จำเป็นเลย

นักวิจัยได้นำนิวรอน 2ตัวที่เป็นความทรงจำแบบรุนแรงและแบบทั่วไปมาต่อกับเส้นประสาทสั่งการ(Motor Neuron)และพบว่าความรุนแรงของการเชื่อมโยงนั้นมาจาก โปรตีนที่ต่างกัน 2ตัวคือ(protein kinase M Apl I)และ(protein kinase M Apl III)โดยถ้าหากเราทำการสกัดกั้นโปรตีนตัวใดก็ตามจะทำให้นิวรอนไม่ทำงาน และทำให้ความทรงจำที่มีไม่ถูกดึงออกมาหรืออาจจะบอกได้ว่าทำให้เหมือนเราไม่มีความทรงจำนั้นไปเลย

Schacher Lab/Columbia University Medical Center

 

ที่มา: Futurism
เรียบเรียง: SignorScience