ผักที่ไม่ควรบริโภคแบบดิบๆ

สุขภาพ

ปัจจุบันประชากรนิยมบริโภคผักผลไม้เพื่อสุขภาพกันมากขึ้น ผักบางชนิดนั้นอาจจะสามารถนำมาบริโภคได้ทันทีเลยแต่บางชนิดนั้นควรที่จะนำไปผ่านกระบวนการต่างๆก่อนนำมาบริโภค ผักที่เราไม่ควรนำมาบริโภคแบบดิบๆได้แก่

1. ถั่วงอก

โดยปกติคนทั่วไปอาจจะคิดว่าถั่วงอกนั้นสามารถนำมาบริโภคได้เลย แต่ในความเป็นจริงแล้วตามกระบวนการเพาะปลูกถั่วงอกที่ต้องใช้ความชื้นเข้ามามีส่วนร่วมนั้นเป็นการช่วยทำให้แบคทีเรียต่างๆเจริญเติบโตได้ดีเช่นกัน จึงทำให้ถั่วงอกที่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการต่างๆนั้นมีเชื้อแบคทีเรียปนเปื้อนอยู่เช่น ซาลโมเนลลา (salmonella)ที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในทางเดินอาหารหรือลำไส้อักเสบ และ อีโคไล(E.coli)ที่ทำให้เกิดอาการท้องเสีย เพียงแค่การล้างนั้นไม่สามารถกำจัดแบคทีเรียเหล่านี้ออกได้หมด จึงควรนำไปปรุงให้สุกโดยใช้ความร้อนเพื่อนความปลอดภัยในการรับประทาน เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียเหล่านี้เพียงเล็กน้อยก็สามารถทำให้เกิดโรคต่างๆได้

2. กะหล่ำปลี/กะหล่ำดอก

ทั้งกะหล่ำปลีและหะหล่ำดอกนั้นมีสารที่ชื่อว่า Goitrogen ซึ่งจะส่งผลต่อผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคไทรอยเพราะ Goitrogenนี้จะยับยั้งการดูดซึมIodineทำให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนได้น้อยลง แต่สำหรับผุ้ที่ไม่ได้เป็นไทรอยด์นั้นควรจะกังวลเรื่องสารกำจัดแมลงที่อยู่ในผักชนิดนี้เนื่องจากผักชนิดนี้มีรูปแบบใบที่ทับซ้อนกันทำให้การล้างเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่สามารถกำจัดสารเหล่านี้ออกได้หมด

3. หน่อไม้/มันสำปะหลัง/มันฝรั่ง

ผักจำพวกมันหรือหน่อไม้มีสารCyanideอยู่ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างมากและอาจจะถึงขั้นเสียชีวิตหากบริโภคสารCyanideในปริมาณหนึ่ง โดยควรใช้ความร้อนประมาณ10นาทีขึ้นไปเพื่อให้แน่ใจว่าสารเหลานี้ถูกกำจัดไปหมดแล้ว

4. ถั่วฝักยาว

สิ่งที่ต้องระวังสำหรับการบริโภคถั่วฝักยาวแบบดิบคือเรื่องสารปนเปื้อน ถั่วฝักยาวเป็นผักที่สามารถดูดซึมสารต่างๆได้ดีเมื่อมันได้รับสารพิษมันจะดูดซึมเข้าไปซึ่งต้องใช้เวลากว่า7วันเพื่อให้สารพิษเหล่านั้นจางหายไปแต่โดยปกติเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าถั่วฝักยาวที่เราซื้อมานั้นได้รับสารมานานเพียงใด การทำให้สุกจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด

5. ผักโขม

ผักโขมมีกรด Oxalic ซึ่งกรดนี้จะขัดขวางการนำแคลเซียมหรือธาตุเหล็กไปใช้ของร่างกายจึงทำให้ผู้บริโภคผักโขมมากๆอาจจะเกิดภาวะการขาดแคลเซียมหรือธาตุเหล็กได้ ดังนั้นหากจะรับประทานผักโขมที่ไม่ได้ปรุงสุกก็ไม่ควรที่จะรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กพร้อมกันแต่ควรนำมาบริโภคภายหลังจะช่วยให้ธาตุเหล็กและแคลเซียมเข้าสู่ร่างกายได้มากขึ้น

 

ที่มา: Mahidol University
เรียบเรียง: SignorScience