ไมโครชิพฝัง ความสะดวกในที่ทำงาน

เทคโนโลยี

 

ไมโครชิพบรรจุในแคปซูลแก้วขนาดเท่าเมล็ดข้าวจะถูกฝังที่มือโดยการใช้เข็มฉีดตัวไมโครชิพเข้าไประหว่างนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ ตัวไมโครชิพจะทำหน้าที่แทนบัตรผ่านประตู,บัตรแทนเงินสดและการเปิดใช้งานคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ต่างๆในสำนักงาน

การฝังไมโครชิพจะเป็นการสมัครใจของพนักงานเอง เป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่สนใจใช้ไมโครชิพเพื่อความสะดวกในการทำงานในสำนักงานซึ่งช่วยลดปัญหาเกี่ยวกับการพกบัตรต่างๆ ไมโครชิพนั้นจะอยู่กับเราตลอดไม่ต้องกลัวลืมรหัสผ่านหรือบัตรสูญหาย ไมโครชิพทำงานในระบบ Radio Frequency Identification (RFID) หรือ การระบุด้วยเคลื่อนวิทยุ ซึ่งเป็นระบบคล้ายการอ่านบาร์โคดแต่แม่นยำกว่าและสามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่า ไมโครชิพเป็นแบบ passive หรือข้อมูลสำหรับอ่านเท่านั้นซึ่งใช้พลังงานต่ำโดยอาศัยวงจรกำเนิดไฟฟ้าเหนี่ยวนำขนาดเล็กในตัวเอง แต่ก็ยังมีความกังวลว่าการฝังชิพเป็นเวลานานจะมีผลข้างเคียงต่อตัวไมโครชิพหรือร่างกายหรือไม่

today.com

พัฒนาโดย Biohax International จากประเทศสวีเดน ซึ่งบริษัทในประเทศอย่าง Epicenter ได้ใช้ไมโครชิพฝังตั้งแต่ปี2015ในส่วนของพนักงานเดินรถรางซึ่งใช้แทนบัตรประจำตัว,บัตรเงินสดและบัตรผ่านเข้าออกซึ่งมีผู้ทดลองใช้แล้ว150คน และในปีนี้บริษัท Three Square Market ในสหรัฐอเมริกาก็ได้เริ่มใช้มีพนักงานสนใจทดลองใช้กว่า80คน บริษัทเล็งเห็นว่าเทคโนโลยีนี้น่าจะนำไปประยุกต์ใช้ในการเก็บข้อมูลบุคคลได้อย่าง พาสปอร์ตหรือประวัติทางการแพทย์ แต่ก็ยังมีหลายฝ่ายไม่เห็นด้วยกับการใช้งานไมโครชิพฝังในร่างกายและเสนอแนวทางเช่น ใช้ไมโครชิพฝังในสายรัดข้อมือแทนหรือกลับไปใช้การสแกนลายนิ้วมือซึ่งดูปลอดภัยกว่า

 

ที่มา: businessinsider.com
เรียบเรียง: SignorScience