การโคลนลิง มีความก้าวหน้าเหนือการโคลนแกะที่ชื่อดอลลี่ ไปอีกขั้น 

วิทยาศาสตร์ทั่วไป

จากการพัฒนาที่ยิ่งใหญ่ทางวิทยาศาสตร์ ลิงชุดแรกได้รับการโคลนอย่างประสบความสำเร็จโดยใช้เทคนิคเดียวกันกับที่เคยใช้โคลนแกะที่ชื่อดอลลี่ พวกมันได้รับการโคลนโดยใช้วิธีการที่เรียกว่าการถ่ายโอนนิวเคลียสของเซลล์ร่างกาย (somatic cell nuclear transfer หรือ SCNT) มันเป็นเทคนิคที่ก่อนหน้านี้ได้ล้มเหลว และมันประสบความสำเร็จเพียงแค่กับแกะที่ชื่อดอลลี่ในช่วงกลางปี 1990 การศึกษาครั้งที่1 ที่น่าทึ่งนี้ ตีพิมพ์ในวารสาร Cell และถูกเรียกว่าเป็นยุคใหม่สำหรับการวิจัยทางการชีวแพทย์และได้รับการดำเนินการต่อจนสำเร็จโดยนักวิทยาศาสตร์ที่สถาบันประสาทวิทยาแห่งประเทศจีนที่เซี่ยงไฮ้

การโคลนทำได้อย่างไร?

สัตว์ที่มีความฉลาด มีความยุ่งยากและซับซ้อนในการโคลน นักวิจัยพยายามใช้เทคนิคการโคลนแบบมาตรฐานอยู่หลายครั้ง ในการศึกษานี้นักวิจัยได้ปรับเทคนิคการฉีดสารพันธุกรรม (DNA) ของเซลล์ที่ได้รับมอบมาเข้าไปในไข่อื่น ซึ่ง DNA ในนั้นได้ถูกนำออกไปแล้ว จึงทำให้เกิดโคลน เทคนิคการถ่ายโอนเซลล์นิวเคลียส(SCNT) ได้รับการอธิบายโดยนักวิจัยว่า เป็นกระบวนการที่ละเอียดอ่อนมาก และจำเป็นต้องทำอย่างรวดเร็วอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดความเสียหายให้กับไข่ พวกเขาสามารถใช้เซลล์ของตัวอ่อนในครรภ์ที่เติบโตขึ้นในห้องปฏิบัติการจนประสบผลสำเร็จก่อนที่พวกมันจะเติบโตเต็มที่ การใช้เซลล์ของตัวอ่อนในครรภ์เหล่านี้สร้างตัวอ่อนที่โคลนได้ทั้งหมด 109 ตัว และปลูกถ่ายประมาณสามในสี่ให้กับลิงที่เป็นตัวอุ้มท้อง 21 ตัวทำให้มีการตั้งท้อง 6 ตัว ลิงแสม 2 ตัวรอดชีวิตจากการคลอด และได้รับการตั้งชื่อ Zhong Zhong และ Hua Hua

นักวิจัยเคยพยายามใช้เซลล์ของตัวเต็มวัย แทนเซลล์ตัวอ่อนในครรภ์ แต่ตัวโคลนเหล่านั้นไม่สามารถอยู่รอดได้หลังจากคลอดไม่กี่ชั่วโมง ลิงตัวแรกที่ได้โคลนมาชื่อว่า Tetra2 เป็นลิงวอกที่เกิดในปี 1999 มันถูกโคลนโดยใช้วิธีการที่เรียกว่า การตัดแบ่งตัวอ่อน (embryo splitting ) ซึ่งเป็นเทคนิคเดียวกับการตั้งครรภ์ฝาแฝดตามธรรมชาติ วิธีนี้มีข้อ จำกัดทในการสร้างที่สำคัญ ซึ่งทำได้เพียง 4 ตัวต่อครั้งเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ด้วยเทคนิคการถ่ายโอนนิวเคลียร์ (SCNT) ในปัจจุบันไม่มีขีดจำกัดในการสร้างตัวโคลน

มนุษย์จะถูกโคลนเป็นรายต่อไปหรือไม่?

ระหว่างการค้นคว้าวิจัยเรื่องนี้ นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกกำลังยกคำถามทางจริยธรรมที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ -เทคนิคนี้จะอนุญาตให้มนุษย์ถูกโคลนได้หรือไม่? เนื่องจากลิงมีความเกี่ยวพันกับมนุษย์อย่างใกล้ชิดที่สุด การโคลนมนุษย์ยังคงเป็นหัวข้อที่ถกเถียงกันในการวิจัยทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ เนื่องจากผลกระทบที่จะมีต่อชีวิตมนุษย์อาจมีนัยยะอย่างมาก และมีเรื่องทางจริยธรรม คุณธรรม และปัญหาที่ยากลำบากในทางกฎหมาย งานนี้จะยังเป็นจุดเริ่มให้เกิดการโต้เถียงในสังคมอีกครั้ง นักชีวเคมีหลายคนและนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกต่างให้ความเห็นว่า มันเป็นการกระทำที่ผิดศีลธรรมจรรยาที่จะพยายามโคลนมนุษย์ด้วยวิธีเช่นนี้ เพราะมันเป็นการฝ่าฝืนภาวะตามธรรมชาติและการดำรงอยู่ของมนุษย์ แม้ว่าเผ่าพันธุ์มนุษย์เราจะหมกมุ่นอยู่กับความคิดเรื่องการโคลนมนุษย์ซึ่งถูกเรียกว่าเป็นภาพลวงตาโดยนักวิทยาศาสตร์ เพราะการโคลนบุคคลใดก็ตาม จะทำให้บุคคลที่มาจากการโคลน ดำรงชีวิตอยู่อย่างแปลกแยกออกไป ความหลากหลายในสายพันธุ์ของเรานั้นเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้โลกนี้มีเอกลักษณ์และเป็นสิ่งมหัศจรรย์

เหล่าผู้เขียนการศึกษาเรื่องนี้มีความชัดเจนว่า ถึงแม้เทคนิคนี้ แน่นอนว่าจะสามารถช่วยให้การโคลนมนุษย์ทำได้ง่ายขึ้น พวกเขาเองไม่ได้มีเจตนาที่จะทำเช่นนั้น พวกเขาอธิบายว่า เจตนาหลักของพวกเขาคือการสร้างสัตว์ที่ไม่ใช่มนุษย์ ซึ่งกลุ่มวิจัยสามารถนำไปใช้เพื่อทำงานต่อไปได้ อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ยังคงมีความกลัวว่า อาจมีโอกาสในการพยายามอย่างผิดกฎหมายที่จะเเกิดขึ้นกับมนุษย์ ในที่บางแห่งในอนาคต

ประเด็นด้านจริยธรรมและกฎหมายนั้น แม้ว่าเราจะไม่ได้พิจารณาถึงความเสี่ยงของความเป็นไปได้ที่จะมีการโคลนมนุษย์ แต่ก็มีกฎหมายต่างๆที่ห้ามไม่ให้มีการโคลน การศึกษานี้ได้ดำเนินการในประเทศจีนซึ่งมีแนวทางในการห้ามการโคลนมนุษย์ แต่ยังไม่มีกฎหมายที่เข้มงวดออกมา อย่างไรก็ตาม ประเทศอื่นๆอีกหลายประเทศรวมทั้งสหรัฐอเมริกา ไม่ได้มีข้อห้ามในเรื่องการโคลนนี้ ดังนั้นเพื่อรักษาจริยธรรมในการวิจัย หน่วยงานด้านกฎระเบียบทั่วโลกจำเป็นต้องมีขั้นตอนและวางแผนแนวทางต่างๆ นักวิทยาศาสตร์บางคนบอกว่า แค่เรื่องการโคลนลิงนี้ มีการนำเรื่องของการทารุณสัตว์ การทดลองในการโคลนดังกล่าวเป็นความสูญเสียของหลายชีวิตและเงิน ซึ่งยังไม่พูดถึงความทุกข์ทรมานที่สัตว์ได้รับ เหล่าผู้เขียนเรื่องการศึกษานี้ได้ประสบกับความล้มเหลวมามาก ก่อนที่จะประสบความสำเร็จ และอัตราความล้มเหลวโดยรวมถูกตั้งไว้ที่อย่างน้อย 90% ซึ่งเป็นจำนวนมหาศาล การใช้เทคนิคนี้มีราคาแพงมาก การโคลน 1 ครั้ง ราคาประมาณ 50,000 เหรียญสหรัฐ ผู้เขียนการศึกษาครั้งนี้ยืนยันว่า คำถามเกี่ยวกับการโคลนสัตว์ที่ไม่ใช่มนุษย์นี้ ควรได้รับการพูดคุยกันในชุมชนวิทยาศาสตร์ เพื่อให้อนาคตมีความชัดเจนขึ้นในแง่ของมาตรฐานทางจริยธรรมที่เข้มงวด

ประโยชน์ที่แท้จริงของการโคลนดังกล่าวคืออะไร?

จุดมุ่งหมายหลักของนักวิจัยคือเพื่อให้งานในห้องทดลองง่ายขึ้นในการทำวิจัยกับประชากรลิงที่ปรับแต่งทางพันธุกรรมได้ ซึ่งจะช่วยปรับปรุงแบบจำลองของสัตว์เพื่อใช้ในการศึกษาความผิดปกติของมนุษย์ รวมทั้งโรคสมอง โรคมะเร็ง ระบบภูมิคุ้มกัน และระบบเผาผลาญอาหารที่ผิดปกติ

เทคนิคนี้ พร้อมด้วยเครื่องมือปรับแต่งยีน ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่น่าทึ่งอีกอย่างหนึ่ง สามารถใช้เพื่อสร้างรูปแบบของลิงเพื่อศึกษาโรคเฉพาะทางพันธุกรรมของมนุษย์ นอกจากนี้การโคลนดังกล่าว ยังมีข้อได้เปรียบกว่าสัตว์อื่นที่ไม่ได้โคลน เพราะความแตกต่างที่เกิดขึ้นจริงระหว่างชุดทดสอบกับชุดควบคุมภายในการศึกษา จะไม่จำเป็นต้องถูกทำให้มีคุณลักษณะที่หลากหลายทางพันธุกรรม เพราะลิงทุกตัวจะถูกโคลน สถานการณ์นี้ก็จะนำไปสู่การลดจำนวนความต้องการในการศึกษาทุกครั้ง เช่น ตัวโคลน 10 ตัว จะเพียงพอสำหรับการศึกษา ซึ่งปัจจุบันมีลิงใช้อยู่มากกว่า 100 ตัว นอกจากนี้ประสิทธิภาพของยาตัวใหม่ๆ สามารถทดสอบได้ง่ายกับลิงที่โคลนมาในระหว่างการทดลองทางคลินิก

 การโคลนได้พูดถึงเป็นความเป็นไปได้ในการพัฒนาเนื้อเยื่อหรืออวัยวะเพื่อการปลูกถ่าย อย่างไรก็ตามเซลล์ต้นกำเนิดจากตัวอ่อนของมนุษย์สามารถนำมาใช้ในการปลูกเนื้อเยื่อและอวัยวะใหม่ได้อีก และพูดตามทฤษฎีแล้ว มันควรจะสามารถปลูกอวัยวะใหม่ได้จากเซลล์ต้นกำเนิดและนำมาปลูกถ่ายอวัยวะได้ในภายหลัง ที่เรียกว่าการโคลนอวัยวะ กระบวนการนี้ไม่จำเป็นต้องมีการโคลนที่แท้จริงของแต่ละบุคคล เทคโนโลยีเซลล์ต้นกำเนิดจะจัดการเรื่องนี้ทั้งหมดโดยไม่จำเป็นต้องมีการโคลนมนุษย์

การศึกษาครั้งนี้มีความเป็นไปได้สูงสำหรับการวิจัยเรื่องลิงโคลนในอนาคต ดังนั้น เซี่ยงไฮ้จึงวางแผนที่จะจัดตั้งศูนย์วิจัยลิงนานาชาติ ซึ่งจะสร้างตัวโคลนสำหรับนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก มีจุดมุ่งหมายเพื่อทั้งการแสวงหาผลกำไรและไม่ต้องการผลกำไร การให้บรรลุเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่นี้ นักวิจัยวางแผนที่จะดำเนินการต่อโดยใช้แนวทางปฏิบัติที่เข้มงวดต่อไป

 

 

ที่มา: Scientificeuropean 
เรียบเรียง: SignorScience