ยารู้ได้อย่างไรว่าต้องรักษาส่วนไหนของร่างกาย?

วิทยาศาสตร์ทั่วไป, สุขภาพ
TED-Ed

เคยสงสัยไหมว่าเกิดอะไรขึ้นหลังจากที่เรารับประทานยาต่างๆเช่นยาแก้ปวดอย่างIbuprofen? ยาที่ไหลลงไปตามลำคอของเราสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดหัว,ปวดหลัง,หรือปวดข้อเท้าได้แล้วยาที่เรารับประทานเข้าไปมันรู้ได้อย่างไรว่าต้องไปที่ไหนก่อน?

คำตอบก็คือตัวยาจะเข้าสู่ระบบไหลเวียนของเลือดที่สูบฉีดหมุนเวียนไปตามส่วนต่างๆของร่างกายเพื่อที่จะทำหน้าที่ของมันก่อนที่จะโดนดักจับโดยระบบขับถ่ายหรือโมเลกุลต่างๆเพื่อขับสารแปลกปลอมหรือตัวยาต่างๆออกจากร่างกายและทำให้ร่างกายกลับสู่สภาวะปกติ

โดยกระบวนการนี้เริ่มจากระบบย่อยอาหารของเรา สมมุติว่าเรารับประทานยาแก้ปวดIbuprofenเพื่อบรรเทาอาการปวดข้อเท้า ภายในไม่กี่นาทีตัวยาจะถูกย่อยโดยน้ำย่อยในกระเพาะอาหารของเรา Ibuprofenที่ละลายแล้วจะเดินทางไปผ่านไปยังลำไส้เล็กและจะผ่านผนังลำไส้เล็กเพื่อไปยังเส้นเลือดต่างๆที่จะพาไปยังตับ

ก้าวต่อไปคือการทำให้ยาที่ละลายแล้วนี้ผ่านออกจาตับให้ได้ เพราะว่าเมื่อเลือดและโมเลกุลยาที่ผสมอยู่ในเลือดเดินทางผ่านตับเอ็นไซม์จะพยายามทำปฏิกริยากับโมเลกุลยาIbuprofenเพื่อที่จะขับมันออกไปทำให้โมเลกุลยาที่ถูกเอ็นไซม์ดักจับนั้นเสียหายเรียกว่าMetabolites ทำให้ฤทธิ์ยานั้นหายไปจึงไม่ได้เป็นโมเลกุลยาแก้ปวดอีกต่อไป ซึ่งในระยะนี้Ibuprofenส่วนใหญ่จะสามารถผ่านจากตับได้โดยที่ไม่โดนดักจับและไม่ทำให้โมเลกุลยาเสียหาย มันจะถูกส่งออกจากตับผ่านเส้นเลือดต่างๆเข้าสู่ระบบหมุนเวียนเลือด

TED-Ed

ครึ่งชั่วโมงหลังจากที่คุณรับประทานยา โดสของยาบางส่วนจะเข้าสู่ระบบหมุนเวียดเลือดซึ่งการหมุนเวียนนี้เดินทางไปทั่วร่างกายรวมถึงหัวใจ,สมอง,ไต,และกลับมาสู่ตับอีกรอบ

เมื่อโมเลกุลของตัวยาพบเจอกับตำแหน่งที่ปวดของร่างกาย มันจะเข้าไปรวมตัวกันในบริเวณที่มีอาการปวดซึ่งเกิดจากปฏิกริยาของตัวยา ตัวยาแก้ปวดอย่างIbuprofenจะไปปิดกั้นตัวส่งสัญญาณปวดที่จะส่งผ่านไปยังสมองเพื่อให้รับรู้จุดที่กำลังปวด ยิ่งโมเลกุลตัวยาเข้ามารวมตัวกันมาก็ยิ่งช่วยให้ความเจ็บปวดลดน้อยลงซึ่งตัวยาจะใช้เวลาประมาณ1-2ชั่วโมงก่อนออกฤทธิ์เต็มที่ หลังจากนั้นร่างกายจะเริ่มทำการกำจัดตัวยาออกจากร่างกายโดยผ่านทางหลอดเลือดต่างๆกลับไปสู้ตับและแปลงมันเป็นMetabolitesซึ่งจะถูกกรองโดยไตและขับออกไปโดยปัสสาวะ

กระบวนการและขั้นตอนเหล่านี้จะเกิดขึ้นกับยาทุกชนิดที่เรารับประทานเข้าไปทางปาก แต่ความเร็วของกระบวนการหรือปริมาณยาที่สามารถเข้าสู่กระแสเลือดได้นั้นจะต่างกันออกไปซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของยา,ตัวบุคคล,และวิธีที่ยาเข้าสู่ร่างกาย ปริมาณยาที่ระบุไว้บนฉลากยาจึงเป็นเรื่องสำคัญเพื่อให้ได้รับยาในปริมาณที่พอดี ถ้าปริมาณยาน้อยไปมันจะไม่สามารถทำงานได้และถ้ามากไปอาจจะทำให้เกิดพิษ

กลุ่มที่มีปัญหากับปริมาณยามากที่สุดคือกลุ่มเด็กเพราะว่ากระบวนการการรับยาเข้าสู่ร่างกายของเด็กมักจะเปลี่ยนแปลงค่อนข้างรวดเร็วเช่นเดียวกับร่างกายของพวกเขา ยกตัวอย่างเช่นเอ็นไซม์ที่อยู่ในตับซึ่งคอยดักจับโมเลกุลยาค่อยข้างแปรปรวนสำหรับทารกและเด็ก  วิธีที่ดีที่สุดคือเราควรบริโภคยาตามที่ฉลากยาระบุไว้ หรืออาจจะปรึกษากับแพทย์และเภสัชกรหากสงสัยและไม่แน่ใจเกี่ยวกับการใช้ยาชนิดต่างๆเพื่อที่จะบริโภคยาให้ถูกปริมาณและถูกเวลา

Pixabay

 

ที่มา: TED-Ed
เรียบเรียง: SignorScience