จากประเทศที่แออัดสู่ประเทศสีเขียว

สิ่งแวดล้อม
Pixabay

ประเทศที่เป็นเกาะอย่างประเทศสิงคโปร์มีประชากรกว่า6ล้านคนอาศัยอยู่ในอาณาเขตประมาณ 700ตารางกิโลเมตร ความหนาแน่นของประชากรในเมืองนั้นสูงมากหรือใน 1ตารางกิโลเมตรจะมีคนอาศัยอยู่ถึง 8พันคนทำให้ประเทศสิงคโปร์อยู่ลำดับที่ 3ของประเทศที่มีจำนวนประชากรหนาแน่นที่สุดในโลก 

เมื่อไม่นานมานี้มีการประมาณการว่าบริเวณชุมชนเมืองที่มีผู้อาศัยหนาแน่นมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกถึง 70%ถึงแม้ว่ามันจะครอบคุลมเพียง 2%ของพื้นที่โลก ซึ่งตัวเลขเหล่านี้กระตุ้นนักสิ่งแวดล้อมเนื่องจากการขยายตัวของเมืองนั้นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วรวมถึงการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร อย่างไรก็ตามสิงคโปร์วางแผนที่จะพัฒนาเมืองโดยให้ความสำคัญต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่ปี 2008

Singapore Tourism Board

วิสัยทัศน์ของประเทศสิงคโปร์คือการสร้างอาคารหรือสิ่งก่อสร้างสีเขียวที่ได้ความคิดริเริ่มมาจาก Cheong Koon Hean ซึ่งเป็นสถาปนิกหญิงผู้วางผังการเติบโตของชุมชนเมือง เธอออกนโยบายเกี่ยวกับการปลูกต้นไม้ทดแทนต้นไม้ที่เสียหายหรือโดนทำลายจากการขยายตัวของเมือง โดยที่100%ของต้นไม้ที่ถูกทำลายจะถูกทดแทนโดยการปลูกเพิ่มบนตึกสูงไม่ว่าจะเป็นระเบียงหรือสวน

เธอไม่ได้มองว่าการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนั้นเป็นทางเลือกแต่มันเป็นสิ่งที่สำคัญต่อประเทศสิงคโปร์ เธอกล่าวอีกว่าพื้นที่ที่จำกัดของประเทศทำให้ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากการพัฒนารูปแบบของเมืองที่แออัดแห่งนี้ การปรับปรุงอาคารและบริเวณโดยรอบให้เป็นสีเขียวจะสามารถช่วยลดความรู้สึกแออัดได้ ซึ่งเธอตั้งความหวังว่าจะได้รับเครื่องหมายสีเขียว(Green Mark)ภายในปี 2030นี้ และหวังว่าเมืองอื่นๆก็จะทำตามเช่นกัน

เราสามารถที่จะพัฒนาสิ่งก่อสร้างที่ช่วยอนุรักษ์พลังงานและน้ำซึ่งจะช่วยทำให้สภาวะแวดล้อมในเมืองดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มการใช้แผงโซล่าเซลล์,ปรับปรุงตัวกันความร้อนของอาคาร,เพิ่มการระบายอากาศ,สิ่งก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม,การใช้แสงสว่างจากดวงอาทิตย์แทนหลอดไฟในตอนกลางวัน,การประหยัดน้ำและเทคนิคอื่นๆอีกมากมาย 

Pixabay

 

ที่มา: Futurism
เรียบเรียง: SignorScience