อาหารที่เรากินกำลังเสื่อมคุณค่าทางโภชนาการ

วิทยาศาสตร์ทั่วไป, สิ่งแวดล้อม, สุขภาพ

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับชั้นบรรยากาศโลกทำให้อาหารของเราเปลี่ยนไปด้วย จากงานวิจัยของ Irakli Loladze นักคณิตศาสตร์ชาวอเมริกันที่ค้นพบต้นปัญหานี้โดยบังเอิญเมื่อปี1998ระหว่างการศึกษา Zooplankton ซึ่งเป็นแพลงต้อนชนิดหนึ่งที่กินตะไคร่น้ำเป็นอาหาร 

Zooplankton

การฉายไฟเพิ่มไปที่ตะไคร่น้ำทำให้ตะไคร่น้ำเจริญเติบโตได้ดีขึ้นและเพิ่มปริมาณมากขึ้นซึ่งน่าจะเป็นแหล่งอาหารที่เพียงพอต่อเหล่าแพลงต้อนแต่ผลการทดลองกลับตรงกันข้าม แพลงต้อนที่กินตะไคร่น้ำที่ผ่านการเร่งการเจริญเติบโตกลับเติบโตได้ไม่ดีและตายลงซึ่งทำให้เขาแปลกใจมากและลองคิดว่าแล้วสำหรับ หญ้าที่วัวกิน ข้าวที่เรากิน จะมีผลอย่างเดียวกันหรือไม่

เนื่องจากพืชสังเคราะห์แสงและดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศและเปลี่ยนพลังงานเหล่านั้นให้เป็นน้ำตาล ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศที่มากขึ้น ทำให้พืชสร้างน้ำตาลมากขึ้นตามไปด้วยและส่งผลให้ผลิตผลอย่าง ข้าว,ข้าวสาลี,ข้าวบาเล่,ถั่วเหลืองและมันฝรั่ง ที่เราบริโภคมีปริมาณน้ำตาลมากขึ้นกว่าเมื่อก่อน แต่ในขณะเดียวกันสารอาหารที่มีคุณค่าอื่นๆกลับลดลง

จากการสำรวจในช่วง30ปีที่ผ่านมา ในพืชกว่า130ชนิดและต้วอย่างกว่า15,000รูปแบบ เป็นที่น่าตกใจว่าปริมาณโปรตีน,แคลเซี่ยม,แมคนีเซียม,แร่ธาตุเหล็กและสังกะสีที่มีในพืชและผลิตผลจากพืชลดลงอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยแล้วถึง8% โดยเฉพาะโปรตีนนั้นได้ลดลงเป็นอย่างมาก นอกจากนี้วิตามินที่มีคุณค่าในผักและผลไม้ก็มีปริมาณลดลงเช่นกัน งานวิจัยของ Irakli Loladze ที่พูดถึงได้การลดลงของคุณค่าทางโภชนาในอาหารได้ออกตีพิมพ์เมื่อปี2014แต่กลับไม่เป็นที่พูดถึงกันมากนัก

การทำการเกษตรแบบหวังผลกำไรที่เน้นการเร่งผลผลิตและการใช้สารเคมีต่างๆ นับเป็นอีกปัจจัยที่กำลังเร่งให้ทุกอย่างแย่ลงไปอีก

 

ที่มา: politico.com
เรียบเรียง: SignorScience