“เวลาไม่ช่วยอะไร”กับอาการอกหักจิงหรือไม่?

สุขภาพ
IFLScience

รู้หรือไม่? อาการอกหักสามารถส่งผลร้ายระยะยาวต่อสุขภาพของเราได้

จากการศึกษาของมูลนิธิหัวใจแห่งอังกฤษซึ่งผู้ออกทุนในการวิจัยพบว่า อาการอกหักส่งผลร้ายต่อร่างกายของเราในระยะยาวได้จริง ในทางการแพทย์จะเรียกอาการนี้ว่า ทาโคะซึโบะ(Takotsubo Syndrome) ซึ่งหมายถึงความเครียดจากเหตุการณ์ที่รู้สึกว่าคนที่เรารักได้จากไปแล้ว จนส่งผลต่อหัวใจทำให้หัวใจมีประสิทธิภาพในการทำงานลดลงและอาจจะผิดรูปร่างด้วย “Takotsubo” เป็นคำในภาษาญี่ปุ่นซึ่ง “Tako”แปลว่าปลาหมึกและ”Tsubo”แปลว่าไห รวมกันจึงแปลว่าOctopus Potหรือไหปลาหมึก สาเหตุที่ตั้งชื่ออาการนี้ว่าไหปลาหมึกเนื่องจากรูปร่างของหัวใจที่ได้รับผลกระทบและมีการเปลี่ยนรูปไป คือส่วนหัวใจห้องล่างซ้ายซึ่งมีรูปร่างคล้ายกับไหดักจับปลาหมึกนั่นเอง คำศัพท์นี้ได้ถูกจดบันทึกครั้งแรกเมื่อปี 1990

Mahidol

จากวรสารการบันทึกหัวใจด้วยคลื่นความถี่สูงแห่งอเมริกา นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอะเบอร์ดีนได้ศึกษาผู้ป่วยโรคทาโคะซึโบะจำนวน 52 คน ซึ่งอายุระหว่าง 28-87 ปี โดยการอัลตร้าซาวและMRIแสกน พวกเขาพบว่าโรคนี้ส่งผลต่อการเต้นของหัวใจอย่างถาวรซึ่งทำให้จังหวะการเต้นช้าลงและการเกิดการบีบตัวของหัวใจ

“พวกเราเคยคิดว่าผู้ป่วยจากโรคนี้สามารถรักษาให้หายได้เป็นปกติ โดยไม่ต้องใช้การช่วยเหลือทางการแพทย์ แต่ผลปรากฏว่าโรคนี้กลับมีผลในระยะยาวต่อผู้ป่วย” กล่าวโดยแพทย์ Dana Dawson จากมหาวิทยาลัยอะเบอร์ดีน

“นอกจากนั้นการวิจัยยังชี้ให้เห็นว่าผู้ที่ป่วยด้วยโรคนี้มีมากกว่าที่เราคิดไว้ ดังนั้นการศึกษาผลกระทบต่อหัวใจผู้ป่วยเป็นสิ่งที่เราต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก”

จากรายงานข่าว BBC แสดงให้เห็นว่า 3-17% ของผู้ที่ป่วยเป็นโรคทาโคะซึโบะเสียชีวิตภายใน5ปีหลังจากการวินิจฉัย ซึ่งในสหราชอาณาจักรมีผู้ที่มีอาการของโรคนี้ 3พันคนต่อปีซึ่งแบ่งเป็นผู้หญิงถึง90%

ข้อสำคัญคือการจะหาวิธีการรักษาเยียวยาที่มีประสิทธิภาพให้พ้นจากผลลัพธ์ที่เลวร้ายของโรคนี้

ผลของการศึกษานี้จึงบอกถึงความเครียดมากๆจากสถานะการณ์ต่างๆสามารถส่งผลต่อสุขภาพร่างกายในระยะยาว ซึ่งนั่นแปลว่าเวลาอาจจะไม่ช่วยรักษาอาการหัวใจสลายได้เลย

Mahidol

 

ที่มา: IFLScience
เรียบเรียง: SignorScience